2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งส่วนกลางหัก ที่ได้รับการผ่าตัดใส่เหล็กดาม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 ธันวาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลศาสตร์ และสุขภาพ  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 44 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งส่วนกลางหักที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งส่วนกลางหักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดใส่เหล็กดามจำนวน 360 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติภายในระยะเวลาที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพ และแบบบันทึกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดของกระดูก ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบบันทึกโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและ logistic regression analysis ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งส่วนกลางหักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ลักษณะการแตกหักของกระดูกไม่เกิน 2 ชิ้น (OR Adj = 3.36; 95%CI=1.33 –8.53; p – value=0.011) ลักษณะการแตกหักของกระดูกแบบบางส่วนยังติดกัน (OR Adj =7.51; 95%CI=1.68 - 33.66; p – value=0.008) การบาดเจ็บเพียงตำแหน่งเดียว (OR Adj = 1.97; 95%CI=1.04 - 3.88; p – value=0.048) และการไม่ติดเชื้อ (OR Adj = 10.73; 95%CI=5.18-22.20; p – value < 0.001) ส่วนการสูบบุหรี่ การแตกหักของกระดูกแบบปิด/เปิด ความรุนแรงของการบาดเจ็บเล็กน้อยและระยะเวลารอผ่าตัด มีความเกี่ยวข้องกับการติดของกระดูกอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ พยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ที่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะหลังกระดูกหัก ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีการแตกหักของกระดูกมากกว่า 2 ชิ้น ผู้ป่วยที่มีการแตกหักของกระดูกที่แยกออกจากกัน ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บมากกว่า 1 ตำแหน่ง และโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อซึ่งพบว่ามีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง มีการพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะหลังกระดูกหักและพัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยง  
     คำสำคัญ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดของกระดูก กระดูกหน้าแข้งส่วนกลางหัก 
ผู้เขียน
615060050-0 น.ส. สาวิตรี บุญศรีสอาด [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0