2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากถุงน้ำยาล้างไต กรณีศึกษา : โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี DESIGN AND DEVELOP OF PRODUCT FROM KIDNEY DIALYSIS BAGS CASESTUDY : SUNPASITTHIPPRASONG HOSPITAL UBON RATCHATHANI PROVINCE. 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 สิงหาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม FAR6 The National and International Academic Conforence on Fine and Applied Arts การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ศิลปกรรมวิจัย ประจำปี 2563 "โลกเปลี่ยนศิลป์ ศิลป์เปลี่ยนโลก" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 สิงหาคม 2563 
     ถึง 28 สิงหาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2563 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 39-56 
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ บทความเรื่อง การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากถุงน้ำยาล้างไต กรณีศึกษาโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการการนำถุงน้ำยาล้างไตมาใช้เป็นวัสดุในการออกแบบ 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์จากถุงน้ำยาล้างไต 3) เพื่อประเมินความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายต่อผลงานผลิตภัณฑ์จากถุงน้ำยาล้างไต เป็นการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยผสมผสานเชิงการทดลอง โดยมีกลุ่มเป้าหมายในกลุ่ม สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีวัยทำงาน อายุ 25-35 ปี เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดลอง และแบบประเมิน นำมาวิเคราะห์และนำเสนอโดยใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์ จากการศึกษากระบวนการการนำถุงน้ำยาล้างไตมาใช้เป็นวัสดุในการออกแบบ พบว่า ถุงน้ำยาล้างไตที่ถูกผลิตด้วยพอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride: PVC) เหมาะแก่การนำมาใช้ในการออกแบบ เนื่องจากวัสดุมีคุณสมบัติ น้ำหนักเบา มีความทนทาน ความเหนียว ความยึดหยุ่น ความโปร่งใส ทนต่อสารเคมี มากกว่าไบโอไฟน์ (Biofine) จากการทดลองวัสดุ กระบวนการตัดเย็บเมื่อนำถุงน้ำยาล้างไตมาเย็บติดกัน สามารถเย็บซ้อนกันได้จำนวนหลายชั้น แต่ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญของผู้ตัดเย็บ เนื่องจากวัสดุพอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride: PVC) มีความเหนียว จึงบังคับการตัดเย็บถุงน้ำยาล้างไตได้ยาก กระบวนการการอัดเรียบด้วยความร้อนระหว่างถุงน้ำยาล้างไตกับผ้าหลายชนิด โดยใช้อุณหภมิ 180°C เป็นระยะเวลา 100 วินาที เพื่อให้ประสานวัสดุเข้าด้วยกัน ทำให้มีลักษณะคล้ายผ้าใบ มีความแข็งแรงทนทาน มีความเหนียว แต่สามารถบังคับถุงน้ำยาล้างไตได้ใกล้เคียงกับการตัดเย็บผ้า แล้วศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้งาน และนำวัสดุที่ได้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการประเมินความคิดเห็นการออกแบบผลิตภัณฑ์จากถุงน้ำยาล้างไตได้รวบรวมสรุปข้อมูลนำมาสร้างแบบจำนวน 30 รูปแบบและคัดเลือกรูปแบบ ภายใต้แนวความคิดตามลักษณะการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1 คอลเลคชั่น โดยแปงเป็นสำหรับสุภาพบุรุษ 4 แบบ และสุภาพสตรี 4 แบบจากการประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์จากถุงน้ำยาล้างไต พบว่าในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน คือด้านความเหมาะสมด้านวัสดุอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.44 ,S.D.= 0.58) รองลงมาคือด้านความคิดสร้างสรรค์ ( x̄= 4.33, S.D.= 0.58) รองลงมาคือด้านประโยชน์ใช้สอย ( x̄= 4.33 ,S.D=0.58 ) รองลงมาคือด้านความสวยงาม ( x̄= 4.22, S.D=0.58 ) และด้านกรรมวิธีการผลิต ( x̄= 3.89, S.D.= 0.58 ) ตามลำดับ คำสำคัญ: การออกแบบ , พัฒนา , ผลิตภัณฑ์ , ถุงน้ำยาล้างไต Abstract The article, “the design and development of the product from kidney dialysis bags, a case study of Sunpasitthiprasong Hospital, Mueang District of Ubon Ratchathani Province, purposed to 1) study the process in utilizing kidney dialysis bags as materials for the design, 2) design a product from kidney dialysis bags, and 3) evaluate the opinions of the target groups towards the designed product from kidney dialysis bags. This was a mixed experimental research. The target group included men and women aged 25-35 or working age. The research instruments were the survey, the interview, the questionnaire, the test, and the evaluation while the received data would be presented in descriptive analysis. Based on the study of the design and development of the product from kidney dialysis bags, it was found that the kidney dialysis bags produced by Polyvinyl Chloride (PVC) was suitable for the design due to its better lightweight, endurability, flexibility, transparency, and chemical tolerance that the product from Biofine. According to the experiment, kidney dialysis bags could be sewn together in many layers but the producer must very skillful and expert because PVC is sticky. Therefore, to cut and to sew is difficult. The thermal densification between kidney dialysis bags and several types of fabric using 180oC of temperature took 100 seconds to combine materials and the product would look like a canvas that is durable and sticky but it could control the kidney dialysis bags to work better and similar to the sewing. Later, the possibility of implementation for product development would be studied. Additionally, the authors evaluated the opinions towards the designed products from kidney dialysis bags and the information would be summarized to create the original model for 30patterns before the selection one by regarding the utilization concept of the target group. The patterns for men consisted of 4 patterns and the other 4 patterns for women. According to the evaluation of products, the overall 5 aspects which are material suitability is at the highest level ( x̄= 4.44 ,S.D.= 0.58), followed by creativity ( x̄= 4.33, S.D.= 0.58), utility ( x̄= 4.33 ,S.D=0.58 ), beauty ( x̄= 4.22, S.D=0.58 ), and production ( x̄= 3.89, S.D.= 0.58 ), respectively. Keyword: Design, Development, Product, Kidney Dialysis Bags  
ผู้เขียน
605200011-1 น.ส. ไผทมาศ ประเสริฐศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0