2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การสลายพันธะพอลิเมอร์ของลิกนินโดยใช้ตัวทำละลายน้ำและเอทานอล เพื่อสังเคราะห์เรโซลลิกนินสำหรับขึ้นรูปโฟมลิกนิน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 ตุลาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 21 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ใช้ลิกนินเพื่อทดแทนฟีนอลในการสังเคราะห์โฟม โดยศึกษาการสลายพันธะพอลิเมอร์ของลิกนินโดยใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำ (LS-W) และสารละลายเอทานอล (LS-ETH) เพื่อเป็นส่วนผสมในการสังเคราะห์ลิกนินเรโซล (LR) สำหรับขึ้นรูปลิกนินโฟม (LF) การทดสอบการสลายพันธะของลิกนินปริมาณต่างๆ ที่เวลาทำปฏิกิริยา 30 และ 60 นาที จนได้ภาวะที่เกิดความเข้มข้นของฟีนอลสูงสุดจะถูกประยุกต์ไปสังเคราะห์ LR และขึ้นรูป LF จากผลการทดลองพบว่า LS-ETH ที่มีลิกนินร้อยละ 30.61 โดยน้ำหนัก และเวลา 30 นาที มีค่าความเข้มข้นของฟีนอลสูงที่สุดคือ 1644 ppm และเลือกปริมาณการเติมลิกนิน เพื่อทดแทนฟีนอลร้อยละ 15 โดยน้ำหนักของฟีนอลสำหรับสังเคราะห์ลิกนินเรโซล ผลการวิเคราะห์ FTIR พบว่าลิกนินเรโซลที่ตัวทำละลายต่างกันมีหมู่ฟังก์ชันและโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับฟีนอลเรโซล (PR) ค่าความหนาแน่นและการรับแรงอัดของลิกนินโฟมที่ใช้ตัวทำละลายเป็นน้ำ (LF-W-15) มีค่า 85.68 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ152.27 กิโลปาสคาล เปรียบเทียบกับลิกนินโฟมที่ใช้ตัวทำละลายเป็นสารละลายเอทานอล (LF-ETH-15) มีค่า 70.19 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ113.7 กิโลปาสคาล ตามลำดับ เมื่อพิจารณาสัณฐานวิทยาของโฟมพบว่ารูพรุนของโฟมโดยส่วนมากมีลักษณะเป็นเซลล์แบบปิด 
     คำสำคัญ โฟมธรรมชาติ การสลายพันธะพอลิเมอร์ ฟีนอลโฟม 
ผู้เขียน
597040034-2 น.ส. ภัทราภรณ์ สุตภักดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0