2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การแยกและคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถชะละลายทองแดงและสภาวะที่เหมาะสมด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนองในการนำแร่โลหะทองแดงกลับมาใช้ใหม่จากผลิตภัณฑ์แผ่นวงจรพิมพ์ที่ถูกทิ้ง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 มกราคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 49 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 12 
     บทคัดย่อ ผลิตภัณฑ์แผ่นวงจรพิมพ์ที่ถูกทิ้งจัดเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีโลหะหนักในปริมาณสูง ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แต่ในขณะเดียวกันแร่โลหะดังกล่าวสามารถสร้างผลตอบแทนสูง การศึกษาครั้งนี้ใช้เทคโนโลยีการชะละลายทางชีวภาพ เพื่อชะละลายทองแดงออกจากแผ่นวงจรพิมพ์ โดยมีการแยกและคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถชะละลายทองแดงจากตัวอย่างดินและตะกอนดิน พบว่า แบคทีเรียไอโซเลต FM-3 มีความสามารถนี้ เมื่อทำการระบุชนิดโดยอาศัยลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA พบว่าเป็นแบคทีเรียชนิด Pseudomonas stutzeri strain FM-3 และเมื่อทำการหาสภาวะที่เหมาะสมด้วยเทคนิคพื้นผิวตอบสนอง ที่มีการออกแบบชุดการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน เพื่อศึกษาผลของ 3 ปัจจัย ได้แก่ อัตราส่วนผงแผ่นวงจรพิมพ์ต่อตัวกลางการชะละลาย จำนวนเซลล์แบคทีเรีย และอุณหภูมิ พบว่าทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อสภาวะที่เหมาะสมในการชะละลายทองแดงจากแผ่นวงจรพิมพ์ ข้อมูลของชุดทดลองที่ได้มีความเหมาะสมกับสมการการทำนายสภาวะที่เหมาะสมในการชะละลายทองแดง เนื่องจากให้ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจสูง (R2 = 0.988) (Discarded printed circuit board (PCB) is classified as an electronic waste containing high amounts of heavy metals. These elements pose a threat to human health and the environment. However, at the same time, such metals can generate high return income. This study uses biological leaching technology to leach the copper out of the printed circuit board. The bacteria with copper leachate ability were isolated and selected from soil and sediment samples. The bacterium isolate FM-3 was found to have this ability. Based on the use of 16S rRNA gene sequencing, it was found that the bacterium was classified as Pseudomonas stutzeri strain FM-3. The optimum conditions were determined using the Response Surface Methodology (RSM) and the Box-Behnken Design experiment set was used to investigate the effects of three factors, including the pulp density, bacterial cell density and temperature. It was found that these three factors influence the optimum conditions for leaching of copper from printed circuit boards. The data of the experimental set were appropriate for predicting the optimum conditions for copper leaching because it gives a high coefficient of determination (R2 = 0.988).)  
     คำสำคัญ กระบวนการชะละลายทางชีวภาพ ทองแดง แผ่นวงจรพิมพ์ วิธีการพื้นผิวผลตอบสนอง  
ผู้เขียน
615040042-1 น.ส. ธัญลักษณ์ จุ่นหัวโทน [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0