2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ เปรียบเทียบผลของไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะระหว่าง 5 กับ 20 รอบการกระตุ้นร่วมกับการฝึกโปรแกรมพิเศษในโรคออทิซึมสเปกตรัม การทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 มกราคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (North-Eastern Thai Journal of Neuroscience) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     ISBN/ISSN 1905-6729 
     ปีที่ 16 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 31-50 
     บทคัดย่อ บทนำ: โรคออทิซึมสเปกตรัม (ASD) เป็นโรคที่เกิดจากการมีการเชื่อมโยงของใยประสาทที่ผิดปกติ โดยบางที่จะมีการเชื่อมโยงกันมากเกินไป และบางที่จะเชื่อมโยงน้อยเกินไปรวมทั้งมีความไม่สมดุลของการกระตุ้น-ยับยั้งเครือข่ายประสาท จากรายงานการวิจัยที่มีพบว่าการกระตุ้นไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกสามารถลดระดับความรุนแรงของโรคออทิซึมสเปกตรัมลงได้ โดยผลการรักษาในการกระตุ้นหลายรอบกว่า เหมือนจะมีแนวโน้มถึงการดีขึ้นของอาการนานกว่า แต่ยังไม่มีการศึกษาใดที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบอย่างเป็นรูปธรรม วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการบำบัดด้วยโปรแกรมพิเศษร่วมกับ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลก จำนวน 5 และ 20 รอบการกระตุ้น วัสดุและวิธีการ: อาสาสมัครออทิสติก ถูกสุ่มให้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่ม A และกลุ่ม B ทั้งสองกลุ่มได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมพิเศษทุกวันตลอดระยะเวลาการศึกษา ร่วมกับการกระตุ้นด้วยขั้วบวกของไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกบริเวณสมองส่วน dorsolateral prefrontal cortex ด้านซ้าย วันละรอบการกระตุ้น รอบละ 20 นาทีทุกวัน โดยกลุ่ม A ได้รับการกระตุ้นจริงเป็นเวลา 5 วันตามด้วยกระตุ้นหลอก 15 วัน ส่วนกลุ่ม B ได้รับการกระตุ้นจริงเป็นเวลา 20 วัน การประเมินผลการรักษาทำโดยแบบประเมินความรุนแรงของออทิซึม ATEC และ CARS ก่อนการรักษา และ วันที่ 5 วันที่ 14 วันที่ 20 เดือนที่ 1 และเดือนที่ 2 หลังการรักษา เปรียบเทียบผลการรักษาด้วย generalized estimation equation (GEE) กำหนดค่าที่มีนัยสำคัญคือ p<0.05 ผลการศึกษา: ค่าคะแนน ATEC ตลอด 2 เดือน (change over time) ระหว่างกลุ่ม A และกลุ่ม B ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทุกๆ ด้าน และเมื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงภายในกลุ่ม พบว่า ทั้งกลุ่ม A และกลุ่ม B มีระดับความรุนแรงของออทิซึม ลดลงกว่า baseline อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และยังคงลดลงอย่างมีนัยสำคัญจนถึงเดือนที่ 2 หลังรักษา สรุปและวิจารณ์ผลการศึกษา: การกระตุ้นด้วยขั้วบวกของไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกจำนวน 20 รอบการกระตุ้นไม่มีผลเหนือกว่า 5 รอบการกระตุ้น หากทำร่วมกับการฝึกโปรแกรมพิเศษ เพื่อการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย การกระตุ้น 5 รอบการกระตุ้น ร่วมกับการฝึกโปรแกรมพิเศษ ก็สามารถให้ผลดีสูงสุดต่อการรักษา อย่างไรก็ดี การศึกษาถึงกลไกการทำงานระดับเซลล์ของการกระตุ้นด้วยขั้วบวกของไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกที่ทำรอบกระตุ้นสูงๆ จึงควรศึกษาต่อไป  
     คำสำคัญ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลก, โรคออทิซึมสเปกตรัม, รอบการกระตุ้นหลายรอบ 
ผู้เขียน
615070017-2 น.ส. กฤติยา อินต๊ะยศ [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0