2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเสียง กรณีศึกษา: โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 เมษายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย Built Environment Inquiry BEI  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN : 2651-1185 (Online) 
     ปีที่ 20 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีนโยบายในการปรับปรุงพื้นที่อาคารจัดแสดงนิทรรศการทางศิลปะเดิมให้เป็นโรงละคร เพื่อใช้สำหรับรองรับกิจกรรมการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งการแสดงละคร ดนตรี นาฏศิลป์ การประชุมสัมมนา รวมทั้งใช้เป็นห้องบรรยายสำหรับการเรียนการสอน โดยที่งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมในอาคารเดิมให้สภาพแวดล้อมของเสียงมีความเหมาะสมกับกิจกรรมใหม่ โดยทำการสำรวจเก็บข้อมูลภายในอาคารด้วยเครื่องวัดและวิเคราะห์เสียง (Audio Analyzer) รุ่น Phonic PAA3 เพื่อการวิเคราะห์ตัวแปรและปัญหา คำนวณค่าคุณภาพเสียงของสภาพแวดล้อมภายในอาคาร เสนอแนวทางในการปรับปรุงอาคารเพื่อการใช้งานเป็นโรงละคร จากนั้นจึงทำการตรวจวัดค่าต่างๆ เพื่อประเมินผลอีกครั้ง ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรที่มีผลทำให้เกิดปัญหาของเสียงทั้งหมดของพื้นที่เดิม ได้แก่ปริมาตรห้องที่มากเกินไป มีระยะหลังคาที่สูง แนวผนังที่ขนานกัน ค่าการดูดซับเสียงของพื้นผิววัสดุภายในห้องที่น้อยเกินไป วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างไม่สามารถป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจากการตรวจวัดค่าการสะท้อนก้องภายในมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.00 วินาที และค่าความเข้มของเสียงรบกวนพื้นหลังจากภายนอกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 47.03 dBA ผลการคำนวณค่าระดับการลดลงของเสียงตรงเมื่อระยะทางเพิ่มขึ้นจากจุดที่ผู้ฟังด้านหลังสุดของห้อง พบว่ามีค่าเสียงกรณีทดสอบด้วยเสียงปกติเท่ากับ 39.00 dBA ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่าความเข้มของเสียงรบกวนพื้นหลัง ผลการวิเคราะห์การกระจายของเสียงด้วยวิธี Ray Diagram Analysis จำนวน 5 จุดที่ระยะต่างๆ กัน พบว่าจุดตรวจวัดของที่นั่งด้านหน้านั้นมีค่าการวิเคราะห์โอกาสในการเกิดปัญหาการเกิดเอคโค่ของเสียง ที่ระดับดีสำหรับการบรรยายและปานกลางสำหรับการแสดงดนตรี จากนั้นจึงได้ทำการคำนวณค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด โดยการลดปริมาตรของพื้นที่ให้มีความเหมาะสม กั้นพื้นที่ผนังภายใน ปรับปรุงเปลือกอาคารภายนอก ติดตั้งฝ้าเพดานที่ทำองศาในการสะท้อนและดูดซับเสียงภายใน พร้อมติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศและเครื่องขยายเสียงในตำแหน่งที่สามารถกระจายเสียงได้ดี ภายหลังการก่อสร้างได้เข้าทำการตรวจวัดค่าต่างๆ พบว่าค่าการสะท้อนก้องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.92 วินาที ลดลงจากเดิมเฉลี่ยร้อยละ 4 และมีค่าเฉลี่ยความเข้มของเสียงรบกวนพื้นหลังจากภายนอกเท่ากับ 42.20 dBA ลดลงจากเดิมเฉลี่ยร้อยละ 10.27 ผลการคำนวณค่าระดับการลดลงของเสียงเมื่อระยะทางเพิ่มขึ้น จากจุดที่ผู้ฟังด้านหลังสุดของห้อง พบว่ามีค่าเสียงกรณีทดสอบด้วยเสียงปกติและกรณีใช้เครื่องขยายเสียงเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยร้อยละ 6.4 และผลการวิเคราะห์ Ray diagram Analysis จำนวน 4 จุดพบว่าจุดตรวจวัดทั้งหมดมีค่าการวิเคราะห์โอกาสการเกิดปัญหาการเกิดเอคโค่ของเสียงที่ระดับดีเยี่ยมทั้งการบรรยายและการแสดงดนตรี ซึ่งแสดงให้เห็นในภาพรวมว่าการปรับปรุงอาคารนี้ ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของเสียงที่มีความเหมาะสมต่อกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่มากยิ่งขึ้น  
     คำสำคัญ สภาพแวดล้อมของเสียง การดูดซับเสียง คุณภาพเสียง 
ผู้เขียน
585200005-4 นาย สุรพัฒน์ ตรีรัตน์วิชชา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0