2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title คติสัญลักษณ์ในลวดลายประดับและภาพสลักรูปบุคคล ปราสาทศีขรภูมิ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก  
Date of Distribution 13 July 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัยครั้งที่ 5 
     Organiser คณะิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่ร 
     Conference Place โรงแรมอวานี ขอนแก่น 
     Province/State Khonkaen 
     Conference Date 12 July 2019 
     To 13 July 2019 
Proceeding Paper
     Volume 2562 
     Issue
     Page 356 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract ปราสาทศีขรภูมิ เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ จากลักษณะทางศิลปกรรม สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่16- 17 เป็นปราสาทขอมที่สร้างผสมสานระหว่างศิลปะแบบบาปวนกับศิลปะแบบนครวัดเพื่อเป็น ศาสนสถานในลัทธิไศวนิกาย มีลักษณะเป็นปรางค์หมู่ 5 องค์ เป็นปราสาทก่ออิฐไม่สอปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ปราสาทแห่งนี้มีลวดลายประดับปราสาทและทับหลังเป็นภาพพระศิวนาฏราชสิบกร และเหล่าเทพต่างๆที่มีความสวยงาม บริเวณเสากรอบประตูสลักเป็นรูปทวารบาลยืนกุมกระบอง และนางอัปสราถือดอกบัว ซึ่งนางอัปสราที่ปราสาทศีขรภูมินี้มีลักษณะคล้ายกับนางอัปสราที่ปราสาทนครวัดประเทศกัมพูชา แม้จะเป็นเพียงปราสาทเล็กๆแต่นับเป็นปราสาทขอมที่มีความงดงามที่สุดของจังหวัดสุรินทร์ โดยมีลวดลายประดับส่วนต่างๆที่สวยงามโดยเฉพาะบริเวณเสากรอบประตูทางเข้าปราสาทประธาน มีทับหลังนี้ ซึ่งเป็นทับหลังที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งของไทย รวมถึงมีภาพสลักรูปบุคคลเล่าเรื่องราวต่างๆสะท้อนทั้งความเชื่อและงานศิลปกรรมในรูปแบบศิลปะขอม การศึกษาคติสัญลักษณ์ในลวดลายประดับและภาพสลักรูปบุคคล ปราสาทศีขรภูมิทำให้ทราบถึงรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบันกับงานช่างศิลปกรรมที่มีอิธิพลต่อการสร้าง คติความเชื่อที่แฝงอยู่ในคติการสร้างตัวปราสาทและสัญลักษณ์ต่างๆที่ปรากฏออกมาในรูปแบบภาพสลัก เพื่อใช้เป็นชุดความรู้ ข้อสันนิษฐาน เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบกับคติสัญลักษณ์ที่ปรากฏในศิลปะขอมที่อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน จากปัญหาที่พบเรื่องรูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกปราสาทศีขรภูมินี้ พบว่า ยังขาดรูปแบบและเอกลักษณ์ ความน่าสนใจ ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่จังหวัดสุรินทร์ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวปราสาทศีขรภูมิ โดยมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านต่างๆตามนโนบายรัฐบาลที่ให้จังหวัดสุรินทร์เป็นหนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยวอีสานใต้ แต่รูปแบบของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกปราสาทศีขรภูมิซึ่งเป็นสินค้าที่สามารถซื้อได้ง่าย สร้างความประทับใจและเป็นที่จดจำให้กับปราสาทศีขรภูมิได้ ซึ่งผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาองค์ความรู้ด้านคติสัญลักษณ์ในลวดลายประดับและภาพสลักรูปบุคคล ปราสาทศีขรภูมิเพื่อนำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อไป  
Author
617220022-9 Miss AEAKNAREE KAEWVISIT [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0