2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แบบแผนการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศกับกการเปลี่ยนผ่านในสังคมอีสานสมัยใหม่ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 เมษายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2564 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมนักประชากรไทย 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยมหิดล และช่องทางออนไลน์ 
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 30 เมษายน 2564 
     ถึง 30 เมษายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 260-276 
     Editors/edition/publisher สมาคมนักประชากรไทย 
     บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งศึกษาแบบแผนการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศกับการเปลี่ยนผ่านของสังคมอีสานสมัยใหม่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบปรากฏการณ์วิทยา มีหน่วยวิเคราะห์ข้อมูลระดับปัจเจก ครัวเรือน และชุมชน เก็บข้อมูลเมื่อกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2563 ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานอีสานย้ายถิ่นกลับจากการไปทำงานต่างประเทศ 30 ราย สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับครัวเรือนแรงงาน 25 ครัวเรือน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 ราย และสัมภาษณ์กลุ่มกับผู้นำชุมชน 21 ราย ใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สังคมอีสานเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงสร้างสังคม โดยเปลี่ยนจากระบบการผลิตแบบเกษตรเพื่อยังชีพสู่การเกษตรเชิงพาณิชย์ และให้ความสำคัญกับตัวเงินตามกระแสทุนนิยม จึงเกิดวิถียังชีพที่ต้องการยกฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนผ่านการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ โดยมีแบบแผนการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) ยุคบุกเบิกการไปทำงานเมืองนอก คนวัยแรงงานชายที่เป็นโสด เริ่มไปทำงานก่อสร้างที่ประเทศตะวันออกกลางจากการชักชวนของนายหน้าด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจ (2) ยุคย้ายถิ่นไปเอเชียตามความนิยม คนอีสานเริ่มย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศผ่านนายหน้า โดยไปทำงานที่ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ มักทำงานโรงงาน งานเกษตร และงานก่อสร้าง (3) ยุคย้ายถิ่นไปกับกรมการจัดหางาน เป็นช่วงที่มีโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ ทำให้มีแรงงานไปทำงานแบบถูกกฎหมายมากขึ้น แต่แรงงานบางส่วนมองว่ามีความล่าช้า จึงเลือกไปแบบผิดกฎหมาย และ (4) ยุคนิยมไปท่องเที่ยว คนอีสานเริ่มมีค่านิยมรักความสะดวกสบาย รักอิสระ ต้องการเปิดประสบการณ์ ประกอบกับมีเครือข่ายในต่างประเทศ จึงทำให้ผู้ที่ไม่เคยย้ายถิ่น เริ่มย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศแบบผิดกฎหมายมากขึ้น 
ผู้เขียน
617080017-0 นาย ณัฐวรรธ อุไรอำไพ [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล ผู้นำเสนอผลงานวิจัยดีเด่น 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล สมาคมนักประชากรไทย 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 30 เมษายน 2564 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum