2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การสำรวจและประเมินความรุนแรงโรคราที่สำคัญของยูคาลิปตัส (Eucalyptus spp.) ในระบบการผลิตต้นกล้า 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 พฤษภาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร (KhonKaen Agriculture Journal) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 49 
     ฉบับที่
     เดือน พ.ย.-ธ.ค.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ จากการสำรวจและประเมินความรุนแรงโรคราที่สำคัญของต้นกล้ายูคาลิปตัส ในระบบการผลิตภายใต้สภาพเรือนเพาะชำของบริษัทสยามฟอเรสทรี จำกัด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ช่วงเดือนมีนาคม–กันยายน พ.ศ. 2561 จากต้นกล้าจำนวน 7 โคลน (H4, H26, H28, H32, H36, H38 และ P6) ของปีการผลิต ซึ่ง 3 ลักษณะอาการโรคที่พบเสมอ ได้แก่ ใบไหม้ ใบจุด และไหม้จากยอด (die back) เมื่อประเมินความรุนแรงของโรคใบไหม้และใบจุดจากดรรชนีความรุนแรงของโรค (disease severity index, DSI) โรคไหม้จากยอดจากเปอร์เซ็นต์การเป็นโรค (disease incidence, DI) ในทุกเดือนๆละครั้ง พบว่ามี DSI และ DI ต่ำที่สุดในเดือนมีนาคม (9.56, 10.55 และ 1.50% ตามลำดับ) ส่วนอาการใบไหม้และไหม้จากยอดมีค่าเฉลี่ยดังกล่าวมากที่สุดในเดือนกันยายน (20.70 และ 28.39% ตามลำดับ) ขณะที่ DSI ของอาการใบจุดมีค่ามากที่สุดในเดือนสิงหาคม (21.50) สำหรับโคลนที่มีค่าเฉลี่ย DSI และ DI น้อยที่สุดในทุกลักษณะอาการ ได้แก่ โคลน P6 แต่โคลน H32 มีค่าประเมินมากที่สุดในอาการใบไหม้ (18.30) และไหม้จากยอด (22.35%) โดยโคลน H28 อาการใบจุดมีค่ามากที่สุด (19.67) ขณะที่ในการแยกเชื้อราสาเหตุโรคจากตัวอย่างต้นกล้ายูคาลิปตัสนั้น สามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์ได้ 61 ไอโซเลต เมื่อนำไปทดสอบความสามารถในการทำให้เกิดโรคภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ พบว่ามีจำนวน 58 ไอโซเลตเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคกับใบยูคาลิปตัสที่ทดสอบด้วยวิธีการเด็ดใบ (detached leaf) และได้คัดเลือกไอโซเลตเชื้อราที่แสดงอาการรุนแรง 10 อันดับแรก ไปทดสอบความสามารถในการทำให้เกิดโรคกับต้นกล้ายูคาลิปตัสโคลน H4 ในเรือนทดลอง พบว่าเชื้อทุกไอโซเลตก่อให้เกิดโรคบนใบได้ โดยไอโซเลต 39DB ที่ทำให้เกิดแผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 3.23 ซม.) ส่วนไอโซเลต 14LB ทำให้เกิดแผลที่มีขนาดเล็กที่สุด (เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 0.45 ซม.) สำหรับการบ่งชี้ในระดับสกุล (genus) จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อ 58 ไอโซเลตนี้นั้น สามารถบ่งชี้เชื้อราได้ 4 สกุล ได้แก่ Coniella sp., Pestalotiopsis sp., Cylindrocladium sp. และ Curvularia sp. 
     คำสำคัญ ยูคาลิปตัส; โรครา; ระบบการผลิตต้นกล้า; การบ่งชี้; การประเมินความรุนแรงโรค 
ผู้เขียน
595030021-3 น.ส. ขรินทร ศรีจันทร์ก่ำ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0