ชื่อบทความ |
เครื่องตัดตอซังข้าว(Rice Straw Stump Cutter) |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
27 ตุลาคม 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วาสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
21 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
ระหว่างรอตีพิมพ์ |
บทคัดย่อ |
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องตัดตอซังข้าว ที่สามารถต่อพ่วงประกอบเข้ากับรถไถเดินตามได้ง่ายและ พัฒนาวิธีการจัดเก็บฟางข้าวที่ได้จากการตัด ที่สามารถเก็บและตัดตอซังข้าวได้ในเครื่องเดียวกัน พร้อมกับลดความยาวของตอซังข้าวลงก่อนการไถกลบเตรียมดินปลูกข้าว โดยเครื่องตัดตอซังข้าวจะประกอบด้วยเครื่องยนต์ดีเซลแบบ 1 สูบ ขนาด 11 แรงม้าพร้อมชุดเฟืองส่งถ่ายกำลัง ชุดเฟืองทดรอบ ชุดตัดตอซังข้าวและชุดเก็บฟางข้าวที่ได้จากการตัดตอซังข้าว ผลการทดสอบพบว่าความสามารถในการตัดตอซังข้าวเท่ากับ 91.88 เปอร์เซ็นต์ ความเร็วในการทำงานเท่ากับ 22.6 นาทีต่อไร่ ค่าอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 0.24 ลิตรต่อไร่ ความสามารถในการคราดเก็บกองฟางเท่ากับ 66.2 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีสัดส่วนของฟางที่เก็บได้เป็น 75 เปอร์เซ็นต์และฟางที่ค้างเหลือเก็บไม่ได้เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องตัดตอซังข้าวพบว่ามีค่าใช้จ่ายผันแปร 21.14 บาทต่อไร่ ค่าต้นทุนเครื่องจักร 12,300 บาท เมื่อราคาฟางข้าวตามท้องตลาดเท่ากับ 25 บาทต่อ 20 กิโลกรัม ทำให้มีจุดคุ้มทุนในการทำงานตัดตอซังข้าวเท่ากับ 59.89 ไร่ต่อปี และระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 9.4 วัน |
คำสำคัญ |
เครื่องตัดตอซังข้าว อุปกรณ์ต่อพ่วงรถไถเดินตาม การจัดการตอซังข้าว |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|