2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น Chinese Strokes Order บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอักษรจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 มิถุนายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 331-372 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น Chinese Strokes Order บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอักษรจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนอักษรจีน ก่อนและหลังการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น Chinese Strokes Order บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอักษรจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น Chinese Strokes Order บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอักษรจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น Chinese Strokes Order บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอักษรจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนน้ำพองศึกษาจำนวน 32 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling: SRS) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบผสมผสานที่ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น Chinese Strokes Order บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอักษรจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 แผน 2) บทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น Chinese Strokes Order บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอักษรจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบวัดทักษะการเขียนอักษรจีน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน การวิจัยนี้เป็นรูปแบบเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยใช้วิธีแบบกลุ่มเดี่ยวสอบก่อนและหลัง (Randomized One Group Pretest Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบที (t - test) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น Chinese Strokes Order บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอักษรจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.60/81.70 2) คะแนนการวัดทักษะการเขียนอักษรจีนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด แบบผสมผสานที่ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น Chinese Strokes Order บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนอักษรจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนอักษรจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และทำให้นักเรียนเกิดความพึงพอใจในการเรียน 
     คำสำคัญ การเรียนแบบผสมผสาน, แอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่, ทักษะการเขียนอักษรจีน 
ผู้เขียน
615050141-3 น.ส. เจษฎาภรณ์ ต้องเดช [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0