2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การสร้างองค์ความรู้และจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่มัคคุเทศก์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาพื้นที่ปกปักทรัพยากรโคกภูตากาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 
Date of Distribution 18 June 2021 
Conference
     Title of the Conference การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 เรื่อง “การยกระดับงานวิจัยสู่นวัตกรรม” 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     Conference Place มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     Province/State กรุงเทพฯ 
     Conference Date 12 July 2021 
     To 12 July 2021 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 750-760 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การสร้างองค์ความรู้และจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่มัคคุเทศก์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาพื้นที่ปกปักทรัพยากร โคกภูตากาในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาองค์ความรู้ในการเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นของเยาวชนในชุมชน (2) สร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อชุมชน (3) ส่งเสริมให้พื้นที่โคกภูตากาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การวิจัยนี้มีกลุ่มเป้าหมาย คือ คนในชุมชนตำบลเมืองเก่าพัฒนา ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำชุมชน และนักเรียนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 40 คน โดยได้มีการสำรวจความพร้อมพื้นที่โคกภูตากาและเสนอต่อผู้นำชุมชน จากนั้นจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับพื้นที่โคกภูตากาให้แก่มัคคุเทศก์ท้องถิ่น อีกทั้งยังให้คนในชุมชนเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สอดคล้องกันและเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประเมินองค์ความรู้และจิตสำนึกความรับผิดชอบในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม จำนวนทั้งหมด 30 ข้อ สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย และ T-test แบบ Dependent ผลของงานวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) คนในชุมชนและมัคคุเทศก์ท้องถิ่นมีความรู้ และความเข้าใจต่อพื้นที่ในทิศทางที่ดีขึ้น จากการประเมินองค์ความรู้ก่อนอบรมมีค่าเฉลี่ย 10.075 คะแนน หลังอบรมมีค่าเฉลี่ย 16.200 คะแนน คิดคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 30.63% เป็นไปตามสมมติฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (2) คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ดีขึ้น และมีการส่งเสริมกิจกรรมค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชน จากคะแนนความสำคัญ Rating scale ก่อนอบรม 3.925 คะแนน หลังอบรม 4.8125 คะแนน ที่มีนัยสำคัญทางสถิติระดับความเชื่อมั่น 95% (3) คนในชุมชนมีการพัฒนาระบบป้ายสื่อความหมาย และร่วมกันเสนอเส้นทางท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงโคกภูตากากับแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง รวมถึงพัฒนาแผนการท่องเที่ยวของชุมชน แบ่งตามระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยว หรือกิจกรรมการท่องเที่ยว ทั้งหมด 10 เส้นทาง ทำให้เกิดการทำงานเป็นเครือข่าย ได้แก่ ผู้นำชุมชน คนในชุมชน รวมถึงนักเรียนที่อาศัยอยู่ในชุมชน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาพื้นที่ปกปักทรัพยากรโคกภูตากาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  
Author
605020035-9 Miss PIYATIDA KHOTMUNGKHUN [Main Author]
Science Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0