2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความย้อนแย้งในกบฏผู้มีบุญภาคอีสาน(กรณีศึกษาหมอลำน้อยชาดา)สู่การสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสม 
Date of Distribution 13 July 2018 
Conference
     Title of the Conference ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่4 อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก 
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.ขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 13 July 2018 
     To 14 July 2018 
Proceeding Paper
     Volume 4/2561 
     Issue
     Page 235 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทคัดย่อ การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ในหัวข้อความย้อนแย้งในคำกลอนผญาในกบฏผีบุญอีสาน (กรณีศึกษาหมอลำน้อย ชาดา) สู่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสื่อผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกบฏผีบุญในภาคอีสานโดยเน้นไปที่กรณีของกบฏผีบุญหมอลำน้อย ชาดา จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ให้เกิดองค์ความรู้ ด้วยแนวคิดความย้อนแย้งที่เกิดขึ้นจากคำกลอนผญาของหมอลำน้อยชาดา และสภาพชุมชนในสมัยนั้น จนเกิดประเด็นแนวคิด ความล้าหลังทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการขาดการพัฒนาด้านการศึกษาจากภาครัฐ จึงนำประเด็นดังกล่าวมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ ในรูปแบบศิลปะสื่อผสม โดยได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาของการวิจัยจากคำกลอนผญา และขอบเขตด้านพื้นที่ที่กบฏผีบุญหมอลำน้อยชาดา เข้ามาเกลี้ยกล่อมผู้คนคือหมู่บ้านเชียงเหียน อำเภอเมืองจังหวัดหาสารคาม จากผลการวิจัยพบว่าการเกิดขึ้นของ กบฏผีบุญหมอลำน้อย ชาดา ที่บ้านเชียงเหียน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามนั้นเกิดจาก สอง สาเหตุ คือ สาเหตุแรกเกิดจากสภาวะทางการเมืองการปกครองที่ยังไม่มั่นคง เนื่องจากประเทศไทยได้ เกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร โดยกลุ่ม คณะราษฎร ที่ได้ล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และในช่วงนั้นรัฐบาลคณะราษฎร ยังถูกทำการปฏิวัติซ้อนโดย กบฏบวรเดช ซึ่งทำให้ประเทศเกิดภาวะไม่สงบ ทำให้กลุ่มของหมอลำน้อย ชาดา ใช้สถานการณ์ที่กล่าวมาสร้างสถานการณ์ และเรื่องราวที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับกบฏผีบุญภาคอีสาน พ.ศ.2444-2445 สาเหตุที่สอง เกิดจากการล้าหลังทางวัฒนธรรมส่งผลให้กลุ่มคนจำนวนมากได้หลงเชื่อและปฏิบัติตามคำกลอนผญาของ หมอลำน้อย ชาดา เช่น เอาหินแฮ่มาเก็บไว้เพื่อจะรอให้เป็นทอง หรือการใส่รองเท้าขาวที่ทำให้รองเท้าในแถบจังหวัดมหาสารคามขาดตลาด อีกทั้งยังมีผู้ที่หลงเชื่อปีนหลังคาเพื่อที่จะแสดงการเหาะเหิน จนทำให้ชาวบ้านต้องช่วยขอให้ลงมาเพราะกลัวจะเกิดอันตรายขึ้น เป็นต้น จากการลงพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้รู้ ทำให้ได้ทราบถึงวิธีการ การใช้กลอนผญาเพื่อสร้างเครือข่าย และทราบผลกระทบของการกระทำที่เกิดขึ้นต่อคนในชุมชน ของหมอ ลำน้อยชาดา ที่ใช้คำกลอนผญา ที่มีลักษณะที่ย้อนแย้ง มีความเป็นอุปมาอุมัยไม่สามารถตีความได้โดยตรง ทำให้มีคนหลงเชื่อและปฏิบัติตามคำกลอนโดยปราศจากการไตร่ตรอง ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น มีลักษณะของการล้าหลังทางวัฒนธรรมที่เกิดจากชุมชนขาดการพัฒนาจากภาครัฐ ที่ไม่สามารถให้ความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชนในขณะนั้นได้ จากข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัยได้นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะสื่อผสม โดยใช้ทฤษฏีหลังสมัยใหม่ ในแนวคิดของการเสียดสี ประชดประชัน ความเชื่อในเรื่องของโลกหน้าหรือโลกพระศรีอารีย์ที่เป็นจินตนาการของความสบายไม่ต้องดิ้นรน หลุดพ้นจากความลำบากทั้งปวง ต้องการอะไรก็สามารถที่จะไปหยิบเอาได้จากต้น กัลปพฤกษ์ รวมถึงการใช้แสงที่ส่องออกมาจากภาพฉลุเกี่ยวกับคำกลอนผญาของกบฎผีบุญบนต้นกัลปพฤกษ์ โดยมีนัยยะที่แสดงถึงความหวังในโลกพระศรีอารีย์ และผู้วิจัยได้ใช้วัสดุสำเร็จรูปที่เป็นเครื่องมือทางการเกษตรมาใช้ในผลงานศิลปะ เพื่อสื่อแสดงถึงความจริง ความอดทน ความพยายาม และการตั้งอยู่ในโลก ที่ต้องดิ้นรนและต้องต่อสู้ จึงจะได้รับความสำเร็จ จากการสร้างสรรค์ดังกล่าวทำให้เกิดการทบทวน และการตระหนักรู้ถึงสภาวะของความจริงของชีวิต ที่ต้องใช้ความพยายามความอดทนในการประกอบสัมมาอาชีพ โดยไม่ควรหวังถึงอนาคต จากคำทำนายหรือคำพยากรณ์ ที่อาจเป็นเพียงจินตนาการที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้จริง  
Author
607220030-9 Mr. JADET TONGFUENG [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0