2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความเชื่อของชุมชนที่มีต่อปราสาทหินเปือยน้อย สู่การสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาร่วมสมัย Community believes on Prasat Hin Pueai Noi To create art Contemporary Ceramic  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กรกฎาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม FAR4th The National Academic Conference on Fine and Applied Arts Research ART IDENTITY:FROM LOCAL TO GLOBAL ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่4 อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรงอวานี ขอนแก่น โฮเทล เเอน คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.ขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 กรกฎาคม 2561 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) ครั้งที่ 4 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 214 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องความเชื่อของชุมชนที่มีต่อปราสาทหินเปือยน้อย สู่การสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาร่วมสมัย เป็นการมุ่งเน้นศึกษาถึงความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่มีต่อปราสาทหินเปือยน้อย และนำองค์ความรู้นั้นมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์งานศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาร่วมสมัย โดยมีวิธีการศึกษาได้แก่ การศึกษาจากแหล่งข้อมูลเอกสาร การลงสนามและสัมภาษณ์ จากการศึกษาพบว่ามีความเชื่อสองอย่างที่ซ้อนทับกันอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ความเชื่อเดิม ปราสาทเปือยน้อยเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลตามแบบอย่างเขมร ทั้งในด้านศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม ความเชื่อคือการนับถือองค์พระศิวะ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็น เทวสถาน และเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงเทวสถานนั้นได้ถูกปรับให้เป็นสถานที่รับใช้พุทธศาสนาขึ้นอยู่กับช่วงสมัยการปกครองของกลุ่มชน แต่มีอยู่ที่เดียวที่คือปราสาทเปือยน้อยที่เทวสถานมีการปรับปรนในลักษณะของการให้ความหมายใหม่ด้วยผีหรือ พระยาอุปฮาด โดยการให้ความหมายของคนในชุมชนเปือยน้อยเท่านั้น อีกทั้งภาพสลักในตัวปราสาทนั้นมีความสมบูรณ์ค่อนข้างสูง ผู้วิจัยจึงเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมเครื่องเคลือบดินเผาร่วมสมัย จากความเชื่อในปราสาทหินเปือยน้อย รูปแบบผลงานจะมีความสวยงาม โดยใช้เนื้อดินพื้นบ้านที่มีสีส้มแดงผสมผสานกับการเคลือบชิ้นงานเพื่อสร้างความงามและความหมายใหม่ให้เกิดขึ้นกับผลงานตามที่มาและความสำคัญข้างต้น สร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะเครื่องเคลือบดินเผา ทั้งหมด 4 ชิ้น แสดงออกถึงที่มาและการซ้อนทับกันของความเชื่อเก่ากับความเชื่อใหม่ของชาวเปือยน้อย 
ผู้เขียน
607220032-5 น.ส. นัชชารัชต์ คำพิลา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0