2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ อัตราการเจริญเติบโตของอ้อยภายใต้ความแห้งแล้งในช่วงต้นของการเจริญเติบโตในระบบการปลูกอ้อยข้ามแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 มิถุนายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารแก่นเกษตร 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนิยมปลูกอ้อยข้ามแล้งแบบอาศัยน้ำฝน ทำให้การผลิตอ้อยในภูมิภาคนี้เสี่ยงต่อการประสบความแห้งแล้งในช่วงต้นของการเจริญเติบโต ซึ่งส่งผลทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงอย่างมาก ความเข้าใจอัตราการเจริญเติบโตของอ้อย (crop growth rate; CGR) ในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตอาจช่วยลดปัญหาความแห้งแล้งที่กระทบกับผลผลิตนี้ได้ ดังนั้น งานทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา CGR ภายใต้การให้น้ำที่แตกต่างกันในระบบการปลูกอ้อยข้ามแล้ง โดยดำเนินงานทดลองในสภาพแปลง (field experiment) หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้แผนการทดลองแบบ split plot in randomized complete block design จำนวน 3 ซ้ำ โดยกำหนดให้ main-plot คือ การให้น้ำที่ระดับความชื้นดิน 3 ระดับ (Field capacity (FC), ½ available water (AW) และ อาศัยน้ำฝน (rain-fed)) ส่วน sub-plot กำหนดให้เป็น อ้อย 6 พันธุ์ ที่มีความทนแล้งและลักษณะรากที่แตกต่างกัน(KK3 , UT13, Kps01-12, KKU99-03, KKU99-02 และ UT12) เก็บข้อมูล มวลชีวภาพ และ CGR ที่อายุ 4 (ช่วงกระทบแล้ง) 6, 8, 10 (ช่วงฟื้นตัว) และ 12 เดือนหลังปลูก และเก็บผลผลิตอ้อยในช่วงอายุ 12 เดือนหลังปลูก พบว่า อ้อย 6 พันธุ์มีความแตกต่างกันทั้งในด้าน ผลผลิต มวลชีวภาพ และอัตราการเจริญเติบโต ซึ่งพันธุ์ KK3 และ UT13 เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตและมวลชีวภาพโดดเด่น ในสภาพขาดน้ำ (กรรมวิธีอาศัยน้ำฝน) มีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ทั้งในช่วงกระทบแล้งและในช่วงฟื้นตัว และการให้น้ำที่ระดับความชื้นดินที่ ½ AW พันธุ์อ้อยทั้ง 2 พันธุ์มีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ในช่วงฟื้นตัว นอกจากนี้ ผลผลิตของอ้อยที่อายุเก็บเกี่ยวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ CGR ในช่วง 4 เดือนหลังปลูก ในสภาพอาศัยน้ำฝน และผลผลิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับค่าเฉลี่ย CGR ในช่วงฟื้นตัว ทั้งใน 3 กรรมวิธีการให้น้ำ ดังนั้น พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมในระบบการปลูกอ้อยข้ามแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ทั้งในช่วงที่กระทบแล้งในช่วงต้นของการเจริญเติบโตและในช่วงฟื้นตัว 
     คำสำคัญ การขาดน้ำ; การให้น้ำ ½ ของความเป็นประโยชน์; มวลชีวภาพ; ผลผลิต; อัตราการเจริญเติบโตของใบ 
ผู้เขียน
615030030-4 นาย อโนชา อ่อนแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0