2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเคลื่อนตัวด้านข้างของดินลมหอบขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 กรกฎาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN E-ISSN 2672-9636 
     ปีที่ 22 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ดินลมหอบในมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นดินเกิดจากการผสมกันระหว่างดินตะกอนและดินเหนียวเมื่ออยู่ในสภาพแห้งสามารถรับน้ำหนักได้ดีแต่เมื่อปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้นกำลังรับน้ำหนักจะลดลงและเกิดการพังทลายอย่างฉับพลันเมื่อนำมาใช้ในงานก่อสร้างจึงจะต้องคำนึงถึงการเคลื่อนตัวที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในแนวราบและแนวดิ่งซึ่งในส่วนของงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเคลื่อนตัวในแนวราบและอัตราส่วนระหว่างการเคลื่อนตัวในแนวราบกับการเคลื่อนตัวแนวดิ่ง ( )ของดินลมหอบขอนแก่นในสนาม ภายใต้สภาพแห้งและเปียก โดยใช้เครื่องวัดการเคลื่อนตัวในแนวราบ (Inclinometer Spiral) ใช้ในการวัดการเคลื่อนตัวในแนวราบทุกๆความลึก 0.5 เมตร จนถึงที่ความลึก 6 เมตร เริ่มแรกติดตั้งท่อวัดการเคลื่อนตัวในแนวราบ (Inclinometer tube) ความยาว 6 เมตร จำนวน 4 ท่อ (ที่ความยาว 4 เมตร วางในชั้นดินลมหอบและที่ความยาว 2 เมตร ฝังในชั้นดินลูกรัง) จากนั้นขุดหลุม 2 หลุม ห่างจากท่อวัดการเคลื่อนตัวในแนวราบ (Inclinometer tube) 0.5 เมตร โดยหลุมแรกมีขนาด 2.0 x 2.0 x 1.2 เมตร ใช้เพื่อติดตั้งฐานราก ส่วนหลุมที่ 2 ถูกขุดในแนวดิ่งลึก 4.5 เมตร จากนั้นจึงให้น้ำหนักบรรทุกผ่านฐานรากขนาด 1.2 x 1.2 x 0.25 เมตร ซึ่งวางที่ระดับ 1.2 เมตร จากผิวดิน ผลการศึกษาพบว่าการทรุดตัวที่เกิดขึ้นภายใต้ความเค้น 20 ตัน / ตารางเมตร มีค่าเท่ากับ 10.66 และ 75.38 มิลลิเมตร ภายใต้สภาพแห้งและเปียก ตามลำดับ โดยความชื้นในสภาพแห้งและเปียกมีค่าเท่ากับ 5.8 และ 20.4 ตามลำดับ นอกจากนี้การเคลื่อนตัวในแนวราบมีค่ามากที่สุดที่ความลึก 1.5 เมตร จากผิวดินซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับที่ฐานรากวางอยู่ 0.3 เมตร แต่การเคลื่อนตัวในแนวราบที่ความลึก 4.0 ถึง 6.0 เมตร มีค่าค่อนข้างคงที่ เนื่องจากท่อวัดการเคลื่อนตัวในแนวราบ (Inclinometer tube) อยู่ในชั้นดินลูกรังทั้งในสภาพแห้งและเปียก การเคลื่อนตัวในแนวราบสูงสุดภายใต้ความเค้น 20 ตัน / ตารางเมตร คือ 4.47 มิลลิเมตร ในสภาพแห้ง และ 17.51 มิลลิเมตร ในสภาพเปียก ผลจากการทดสอบแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนตัวในแนวราบที่สภาพเปียกมีค่ามากกว่าที่สภาพแห้งประมาณ 3 – 4 เท่า นอกจากนี้ ( )ของสภาพเปียกสูงกว่าสภาพแห้ง โดย ( ) สูงสุดซึ่งเกิดขึ้นในสภาพเปียก คือ 0.518 และ อัตราส่วนระหว่างการเคลื่อนตัวในแนวราบกับการเคลื่อนตัวแนวดิ่ง ( ) ที่วิบัติในสภาะเปียก คือ 0.390 ส่วน ( ) สูงสุดในสภาพแห้งมีค่าเท่ากับ 0.419 
     คำสำคัญ การเคลื่อนตัวในแนวราบ อัตราส่วนระหว่างการเคลื่อนตัวในแนวราบกับการเคลื่อนตัวแนวดิ่ง 
ผู้เขียน
625040036-7 นาย อภิสิทธิ์ วิศิษฏ์กิจการ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0