2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title จากเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการ: ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเครือข่ายทางสังคม 
Date of Distribution 21 November 2020 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ครั้งที่ 2 
     Organiser มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     Conference Place มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     Province/State อุบลราชธานี 
     Conference Date 20 November 2020 
     To 21 November 2020 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 72 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทความนี้มุ่งศึกษาการกลายเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการ ภายใต้การวิเคราะห์บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเครือข่ายทางสังคม ของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น ตามแนวคิดเครือข่ายทางสังคม ที่จะสะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์การก่อตัวของเกษตรกรผู้ประกอบการ ที่เกิดขึ้นจากการมีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มต่างๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการผลิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของครัวเรือน โดยการศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการสังเกต เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุมรอบด้าน มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้รู้ในชุมชน 3 คน เจ้าหน้าที่รัฐ 3 คน เกษตรกรผู้ประกอบการ 7 คน และสมาชิกในครัวเรือนของเกษตรกรผู้ประกอบการ 4 คน ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงและการบอกต่อ ทำการจัดระเบียบข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปและนำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การก่อตัวของเกษตรกรผู้ประกอบการในจังหวัดขอนแก่น ล้วนแต่เกิดขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับการพึ่งพาหรือได้รับการสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม ประกอบด้วย (1) สมาชิกในครัวเรือน ในฐานะของแรงงาน ผู้สนับสนุนด้านการเงิน รวมถึงการส่งเสริมด้านการตลาด (2) ชุมชนหรือกลุ่ม ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ข่าวสารต่างๆ ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป และการขายผลผลิต และ (3) เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดนโยบายหรือกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมภาคการเกษตร ซึ่งช่วยให้เกษตรกรผู้ประกอบการสามารถฉวยใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการผลิตของตนได้อย่างหลากหลาย ในส่วนของการสร้างเครือข่าย พบว่า เกษตรกรผู้ประกอบการมีการใช้เครือข่ายทางสังคมในฐานะทรัพยากรหนึ่งเพื่อส่งเสริมการประกอบการของตน จำแนกได้ 2 รูปแบบที่สำคัญ คือ (1) เครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมบนพื้นที่เชิงกายภาพ และ (2) เครือข่ายที่เกิดขึ้นบนฐานของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นลักษณะของการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับทั้งหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าในฐานะของตลาด การมีเครือข่ายกับเกษตรกรผู้ประกอบการรายอื่นๆ รวมถึงการมีเครือข่ายเชิงเครือญาติสนับสนุน ซึ่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคม 2 ลักษณะ ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่เป็นแนวราบในลักษณะของการพึ่งพาระหว่างกัน และความสัมพันธ์แนวดิ่งโดยการต่อรองผลประโยชน์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการผลิตของตนเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นคุณลักษณะของการเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการที่รู้จักใช้ประโยชน์จากการพัฒนาของสังคมเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดี และมีกลยุทธ์ในการดำรงชีพที่แตกต่างไปจากเกษตรกรแบบเดิม ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการสนับสนุนด้านนโยบายจากรัฐได้อย่างชัดเจน  
Author
605080001-0 Miss NUTCHANAT SOMKAUN [Main Author]
Humanities and Social Sciences Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0