2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ประสิทธิผลของกระเจี๊ยบแดงต่อความดันโลหิตในผู้ใหญ่ในวารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เมตต้า Effectiveness of Roselle on Blood Pressure in Adults in Thai Medical and Public Health Journals: A Systematic Review and Meta-analysis 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 29 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การทบทวนวรรณกรรมนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกระเจี๊ยบแดงต่อความดันโลหิตในผู้ใหญ่ ในวารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ทำการสืบค้นการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย เช่น ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย รวมถึงสืบค้นด้วยมือถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 โดยคัดเลือกการศึกษาเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุม ทั้งแบบสุ่ม (Randomized controlled trials: RCTs) และกึ่งทดลอง (Quasi-randomized studies) ที่ศึกษาผลการรับประทานกระเจี๊ยบแดงทุกรูปแบบ เปรียบเทียบกับสิ่งเปรียบเทียบอื่น เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาหลอกหรือการรับประทานสิ่งเปรียบเทียบอื่นในบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไป และไม่ใช่หญิงตั้งครรภ์ ประเมินความเอนเอียงของการศึกษาตามแนวทางของ Cochrane เวอร์ชั่น 1.0และประเมินความแน่นอนของหลักฐานงานวิจัยตามแนวทางของ GRADE อิสระต่อกันโดยผู้วิจัยสองคน สังเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Review Manager 5.4 ผลการศึกษาการสืบค้นพบรายงานวิจัย 877รายการสอดคล้องกับเกณฑ์คัดเข้าทั้งหมด 4การศึกษา โดยเป็นการศึกษาในประเทศไทยศึกษากระเจี๊ยบแดงอย่างเดียวหรือผสมหญ้าหวานเปรียบเทียบกับยาหลอกหรือยา Simvastatinผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 160 คน อายุเฉลี่ย 56.1 ปี (SD=9.05) ความดันโลหิตส่วนบนและส่วนล่างเฉลี่ย เท่ากับ 132.0 มิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท) (SD=10.58) และ 79.6มม.ปรอท (SD=8.50) ตามลำดับ รับประทานกระเจี๊ยบแดงตลอดการศึกษารวม90-300 กรัม เป็นเวลา 28-90 วัน ผลการวิเคราะห์เมตต้าพบว่า(1) กระเจี๊ยบแดงอาจลดหรือไม่ลดความดันโลหิตส่วนบน (ผลต่างค่าเฉลี่ย (Mean difference;MD)=-2.84มม.ปรอท;95% CI -6.28 ถึง 0.60; I2 ร้อยละ 58; ตัวแบบสุ่ม; งานวิจัย 4 เรื่อง; ผู้เข้าร่วมการศึกษา 160 คน; ความแน่นอนของหลักฐานงานวิจัยระดับต่ำมาก) (2) กระเจี๊ยบแดงลดความดันโลหิตส่วนล่าง (MD= -1.32มม.ปรอท; 95% CI -2.82 ถึง -0.15;I2 ร้อยละ 0; ตัวแบบคงที่; งานวิจัย 4 เรื่อง; ผู้เข้าร่วมการศึกษา 160 คน; ความแน่นอนของหลักฐานงานวิจัยระดับต่ำมาก) (3) อาการไม่พึงประสงค์ พบ 2 อาการ คือ (3.1) ปัสสาวะบ่อย ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (RR) 5.32; 95% CI 1.01 ถึง 27.99; I2 ร้อยละ 24; ตัวแบบคงที่; งานวิจัย 2 เรื่อง; ผู้เข้าร่วมการศึกษา 74 คน; ความแน่นอนของหลักฐานงานวิจัยระดับต่ำมาก) และ (3.2) อุจจาระเหลว ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (RR) 5.71; 95% CI 0.73 ถึง 44.58; I2 ร้อยละ 0; ตัวแบบคงที่; งานวิจัย 2 เรื่อง; ผู้เข้าร่วมการศึกษา 74 คน; ความแน่นอนของหลักฐานงานวิจัยระดับต่ำมาก) โดยสรุปพบว่า หลักฐานที่พบมีความแน่นอนในระดับต่ำมากที่บ่งชี้ว่ากระเจี๊ยบแดงอาจลดความดันโลหิตส่วนบนและส่วนล่างหลักฐานดังกล่าวไม่พอเพียงสำหรับหาข้อสรุปประสิทธิผลและความปลอดภัยของการรับประทานกระเจี๊ยบแดง ควรมีการศึกษาการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCTs) ที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ดีในตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป และขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม  
     คำสำคัญ ความดันโลหิต กระเจี๊ยบแดง ประสิทธิผลการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ วิเคราะเมตต้า 
ผู้เขียน
615110065-0 น.ส. ฝนทิพย์ บุตระมี [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0