2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจหลังได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 11 ตุลาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคะวันออกเฉียงเหนือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 39 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2564
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ วิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจหลังได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย (post-general anesthesia respiratory complications: P-GARCs) ดำเนินการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 322 ราย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะพัฒนาแบบประเมิน 2) ระยะทดสอบประสิทธิภาพและ 3) ระยะนำไปปฏิบัติจริง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง P-GARCs โดยใช้สถิติ Cox proportional hazards regression และประเมินประสิทธิภาพในการวินิจฉัยของแบบประเมินโดยใช้ receiver operating characteristic (ROC) curve ผลการศึกษาพบว่าแบบประเมินความเสี่ยงของการเกิด P-GARCs (P-GARCs risk assessment form: PRAF) มี 11 ข้อ รวม 30 คะแนน ประเมินความเสี่ยงการเกิด P-GARCs 2 ด้าน คือ 1) ด้านผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ สถานะสุขภาพทางวิสัญญี ดัชนีมวลกาย โรคระบบหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด และการสูบบุหรี่ และ 2) ด้านการดูแลรักษา ได้แก่ ตำแหน่งและประเภทของการผ่าตัด ระยะเวลาใส่ท่อช่วยหายใจ และจำนวนครั้งที่ใส่ท่อช่วยหายใจ PRAF มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา = 0.87 และ inter-rater reliability = 0.81 เมื่อใช้ PRAF ประเมินความเสี่ยง P-GARCs พบว่าที่จุด cut-off 13 คะแนน PRAF มี sensitivity 96.9% specificity 85.2% และ Area under Curve = 0.73 (95%CI 0.64-0.82, p < .001) ซึ่งสะท้อนว่า PRAF มีประสิทธิภาพในการประเมินความเสี่ยง P-GARCs และสามารถใช้คัดกรองผู้ป่วยเพื่อวางแผนป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวต่อไป 
     คำสำคัญ แบบประเมิน, ภาวะแทรกซ้อน, การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, ระบบทางเดินหายใจ, ปัจจัยเสี่ยง  
ผู้เขียน
615060021-7 นาย ฆนรุจ โชคเหมาะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0