2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การศึกษาคุณลักษณะ ปี่ ลุ่มน้ำโขง 
Date of Distribution 14 August 2021 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “สัมพันธภาพไร้พรมแดนผ่านศาสตร์ศิลป์ของมนุษยชาติ” 
     Organiser สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 
     Conference Place วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ 
     Province/State กาฬสินธุ์ 
     Conference Date 11 August 2021 
     To 13 August 2021 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 53 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษาคุณลักษณะ ปี่ ลุ่มน้ำโขง มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะทางกายภาพของปี่ลุ่มน้ำโขง และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะทางระบบเสียงของปี่ลุ่มน้ำโขง โดยการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพ และระบบเสียง ของปี่ จำนวน 12 เครื่อง จาก 6 ประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ มีผลการวิจัยดังนี้ ด้านกายภาพ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ “เลาปี่” ทำจากไม้ตระกูลไม้ไผ่ เป็นลำยาว เจาะทะลุปล้อง เจาะเป็นรูเรียงกันเพื่อใช้เปลี่ยนระดับเสียง มีวิธีการเจาะรู และจำนวนรู ไม่เท่ากันแตกต่างไปตามวัฒนธรรมดนตรีของแต่ละแห่ง “ลิ้นปี่” คือแหล่งกำเนิดเสียงที่สำคัญ ใช้วัสดุประเภทโลหะ มีส่วนผสมแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ นำมาตีรีดจนเป็นแผ่นบางมาก ลิ้น มีลักษณะแตกต่างกัน 3 แบบ คือ 1. แบบปลายยาวแหลม 2. แบบปลายแหลมตัดหัว และ 3. แบบขนานปลายตัด “ขนาดของปี่” มีหลักการเดียวกัน คือเลาเล็กสั้นจะให้เสียงสูงกว่าเลาที่ใหญ่หรือยาวกว่า ด้านระบบเสียงและการบรรเลง เนื้อเสียงและระบบเสียงมีความคล้ายคลึงกัน มีความสอดคล้องใกล้เคียงกับกลุ่มบันไดเสียง เพนทาโทนิค (Pentatonic) และไมเนอร์ดอเรียน (Dorian)  
Author
597220018-8 Mr. SANGKEAT KUMJUDPANPAI [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0