2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ปรากฏการณ์และผลกระทบของภัยพิบัติน้ำท่วม: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 กรกฎาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการวางแผนภาคและเมือง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2563/2564 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม หลักสูตรการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 กรกฎาคม 2564 
     ถึง 23 กรกฎาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 210-216 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปรากฏการณ์น้ำท่วมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือรอบ 25 ปี และ 2) ศึกษาผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยการวิจัยเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียงและวิเคราะห์ลำดับเหตุการณ์น้ำท่วมตั้งแต่ พ.ศ.2538-2562 ประเมินระดับน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของน้ำท่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติจากพายุลมมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักกว่าปกติและลักษณะภูมิประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม รวมทั้งปัจจัยจากมนุษย์ในด้านการจัดการน้ำและปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมทุกปี โดยพบน้ำท่วมระดับมากที่สุด 4 ครั้ง (16%) น้ำท่วมมาก 11 ครั้ง (44%) น้ำท่วมปานกลาง 7 ครั้ง (28%) และน้ำท่วมน้อย 3 ครั้ง (12%) โดยจังหวัดที่มีความถี่ในการเกิดน้ำท่วมมากที่สุด คือ อุบลราชธานี รองลงมาได้แก่ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครพนม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย นครราชสีมา สกลนคร ศรีสะเกษ ชัยภูมิ มุกดาหาร หนองคาย หนองบัวลำภู มหาสารคาม สุรินทร์ อุดรธานี อำนาจเจริญ และบึงกาฬ ตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีระดับน้ำท่วมและความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม 10 ลำดับแรก ได้แก่ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น บุรีรัมย์ ยโสธร สกลนคร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา นครพนม และชัยภูมิ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงภัยพิบัติน้ำท่วมและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการวางแผนป้องกันและลดผลกระทบอันเกิดจากภัยน้ำท่วม รวมถึงการจัดการน้ำท่วมให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของแต่ละจังหวัดต่อไป 
ผู้เขียน
597200006-0 นาง สมชญา ศรีธรรม [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0