2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ องค์ประกอบชนิดของโรติเฟอร์ คลาโดเซอแรน และโคพีพอดในนาข้าวอินทรีย์บริเวณพื้นที่ดินเค็ม จังหวัดนครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 12 พฤศจิกายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 
     ISBN/ISSN 0125-2380  
     ปีที่ 40 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 14-28 
     บทคัดย่อ การศึกษาความหลากชนิดและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ในนาข้าวอินทรีย์ที่ข้าวอยู่ในระยะออกรวง ในพื้นที่ดินเค็ม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์เชิงปริมาณด้วยถุงกรองแพลงก์ตอนขนาด 20 ไมโครเมตร ในนา 1 แปลง จำนวน 10 จุดเก็บตัวอย่าง เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 2 ครั้ง วันที่ 14 และ 29 ตุลาคม 2561 และตรวจวัดคุณภาพน้ำ จำนวน 11 ปัจจัย พบแพลงก์ตอนสัตว์ 19 วงศ์ 41 สกุล 61 ชนิด โรติเฟอร์มีจำนวนชนิดมากที่สุด รองลงมาคือ คลาโดเซอแรน และโคพีพอด พบ 36 17 และ 8 ชนิด ตามลำดับ ตัวอย่างครั้งที่ 1 พบแพลงก์ตอนสัตว์ 60 ชนิด ซึ่งสูงกว่าตัวอย่างครั้งที่ 2 พบเพียง 35 ชนิด ดัชนีความหลากชนิดของแชนนอน-วีเนอร์ และดัชนีความสม่ำเสมอของพิลู มีค่าสูงในตัวอย่างครั้งที่ 1 เท่ากับ 3.24 0.79 และลดลงในตัวอย่างครั้งที่ 2 เท่ากับ 2.48 0.69 ตามลำดับ Lecane bulla และ Anthalona harti มีความหนาแน่นสูงในตัวอย่างครั้งที่ 1 ขณะที่ Polyarthra vulgaris และ Ceriodaphnia cornuta เป็นชนิดเด่นในตัวอย่างครั้งที่ 2 อุณหภูมิน้ำ (p = 0.011) และปริมาณไนเตรท (p = 0.048) มีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 และ 2 ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ความหลากชนิดของแพลงก์ตอนสัตว์และความหนาแน่นของชนิดเด่นของโรติเฟอร์ และคลาโดเซอแรนมีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 2 สัปดาห์ 
     คำสำคัญ แพลงก์ตอนสัตว์ ความหลากชนิด แหล่งน้ำชั่วคราว พื้นที่ดินเค็ม 
ผู้เขียน
597020053-0 นาย ณัฐพร ปลั่งกลาง [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0