2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาคุณภาพน้ำเชื้อของไก่ป่าตุ้มหูขาวในรอบปี 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 มิถุนายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 "ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ นำปศุสัตว์ไทยสู่ความยั่งยืน"  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา และพันธมิตร 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดนครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 มิถุนายน 2564 
     ถึง 25 มิถุนายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 50 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 505-515 
     Editors/edition/publisher Assoc.Prof.Dr. Poramate Banterng 
     บทคัดย่อ ไก่ป่าตุ้มหูขาว (Gallus gallus gallus) เป็นบรรพบุรุษของไก่บ้าน แต่ไม่พบรายงานเกี่ยวกับการผลิตน้ำเชื้อสดของไก่ป่าตุ้มหูขาว ซึ่งข้อมูลนี้มีความสำคัญในการพัฒนาการอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของไก่ป่าตุ้มหูขาวด้วยการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็งต่อไปได้ จึงได้ทำการศึกษาเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะของน้ำเชื้อของไก่ป่าตุ้มหูขาวในรอบปี ใช้พ่อพันธุ์ไก่ป่าตุ้มหูขาวอายุ 1 ปี ทั้งหมด 8 ตัว เลี้ยงดูอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและมีการเก็บน้ำเชื้อเป็นประจำสัปดาห์ละสองครั้ง ตรวจประเมินคุณภาพของน้ำเชื้อทุกสัปดาห์เป็นเวลา 15 เดือน น้ำเชื้อได้รับการประเมินปริมาตร คะแนนการเคลื่อนที่อสุจิแบบหมู่ ร้อยละการเคลื่อนที่อสุจิตรงไปข้างหน้า ร้อยละอสุจิมีชีวิตรอด ร้อยละอสุจิผิดปกติ จำนวนอสุจิ/มิลลิลิตร (มล.) และจำนวนอสุจิต่อการหลั่งน้ำเชื้อแต่ละครั้ง ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพน้ำเชื้อไก่ป่าตุ้มหูขาวจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนี้ ปริมาตรน้ำเชื้อ 0.281+0.089 มล. คะแนนการเคลื่อนที่อสุจิแบบหมู่ 4.83+0.24 การเคลื่อนที่อสุจิตรงไปข้างหน้า 98.15+1.77% อสุจิมีชีวิตรอด 98.43+0.96% อสุจิผิดปกติ 1.34+0.54% จำนวนอสุจิ 6,320+502.29 (1x106) เซลล์/มล. และจำนวนอสุจิต่อการหลั่งน้ำเชื้อแต่ละครั้ง 1,776x106 เซลล์ และพบว่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม ปริมาณน้ำฝน และความชื้นสัมพัทธ์จะมีสหสัมพันธ์กับคุณภาพน้ำเชื้อ โดยภาพรวมน้ำเชื้อสดไก่ป่าตุ้มหูขาวมีคุณภาพดี ด้วยเหตุนี้ ข้อมูลของรายงานการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปศึกษาต่อการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็งเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมไก่ป่าตุ้มหูขาวได้ตลอดปี คำสำคัญ: ไก่ป่าตุ้มหูขาว; คุณภาพน้ำเชื้อ; การผลิตน้ำเชื้อในรอบปี  
ผู้เขียน
597030007-1 นาง สินีนาฎ พลแสง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0