2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article พัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนสมัยโบราณในพื้นที่ระหว่างลุ่มแม่น้ำเลยถึงห้วยน้ำโมงช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14 จากหลักฐานทางโบราณคดี  
Date of Acceptance 18 November 2020 
Journal
     Title of Journal วารสารไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
     Standard TCI 
     Institute of Journal มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
     ISBN/ISSN 1686-0667 
     Volume 18 
     Issue
     Month กรกฎาคม-ธันวาคม
     Year of Publication 2021 
     Page 33 
     Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนสมัยโบราณที่พบบริเวณพื้นที่ระหว่างลุ่มแม่น้ำเลยถึงห้วยน้ำโมง ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14 จากหลักฐานทางโบราณคดี ผลการศึกษาสามารถแบ่งพัฒนาการทางวัฒนธรรมได้เป็น 2 สมัย ดังนี้ 1.สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานชุมชนแรกเริ่มที่ริมแม่น้ำโขง ตอนเหนือ ของแอ่งสกลนคร กำหนดอายุประมาณ 5,500 -2,700 ปีมาแล้ว ต่อมาชุมชนโบราณที่แหล่งโบราณคดีภูโล้น อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย กำหนดอายุประมาณ 4,000 – 3,500 ปีมาแล้ว ต่อเนื่องถึงยุคเหล็กเมื่อประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว ทำการถลุงแร่ทองแดงและเหล็กจากแหล่งริมแม่น้ำโขงแล้วส่งออกไปทั่วภาคอีสาน ส่วนชุมชนตอนในแถบลุ่มแม่น้ำเลยมีลวดลายปั้นแปะบนภาชนะดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ขณะที่ชุมชนทางฝั่งตะวันออกของเทือกเขาภูพานมีภาชนะดินเผาที่แสดงความสัมพันธ์กับชุมชนในวัฒนธรรมบ้านเชียง 2. สมัยประวัติศาสตร์ พบตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมา เกิดชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดีที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท มีลักษณะเฉพาะ 2 ประการ คือ 1) ไม่พบคูน้ำล้อมรอบเนินดินที่ตั้งของชุมชน 2) ชุมชนฝั่งตะวันออกของเทือกเขาภูพานได้รับคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและศิลปกรรมอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรเข้ามาผสมผสาน จึงพบหลักฐานรูปเคารพที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นแตกต่างจากชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นในพื้นที่อื่น ๆ ของภาคอีสาน  
     Keyword พัฒนาการทางวัฒนธรรม, อีสานตอนบน, หลักฐานทางโบราณคดี, สมัยก่อนประวัติศาสตร์, ทวารวดี 
Author
615080012-6 Miss KULAVADI SAMACKTHAI [Main Author]
Humanities and Social Sciences Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0