2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ พัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณสมัยล้านช้าง บริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเลยถึงห้วยน้ำโมง ช่วง พ.ศ. 1896-2102  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 มิถุนายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 10 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทความนี้ ต้องการศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณสมัยล้านช้างบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเลยถึงห้วยน้ำโมง ช่วง พ.ศ. 1896-2102 ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีแผนที่ พบว่าภูมิประเทศของพื้นที่ศึกษาถูกเทือกเขาภูพานแบ่งเป็นฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก พื้นที่ทั้งหมดมีชุมชนมาก่อนแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยล้านช้างชุมชนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก แบ่งชุมชนตามหลักฐานที่พบได้ 3 แบบ คือ 1) ต่อเนื่องหลายสมัย 2) ไม่ต่อเนื่อง 3) สมัยล้านช้าง พัฒนาการของชุมชนมี 2 ระยะ คือ ระยะแรก (พ.ศ. 1896-2063) พบหลักฐานเฉพาะฝั่งตะวันตกมี 2 ชุมชน คือ เมืองซายขาว (ลุ่มแม่น้ำเลย) และเมืองหนองบัว (ลุ่มน้ำห้วยน้ำโมง) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2063-2102) เมืองซายขาวมีวัดห้วยห้าวเป็นศูนย์กลาง และวัดพระธาตุบังพวนเป็นศูนย์กลางทางฝั่งตะวันออก พบลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมบางประการเรื่องการจัดระเบียบการปกครอง นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และมีวิถีการดำรงชีพหลากหลาย ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งชุมชน คือ ปัจจัยภายนอกเรื่องข้อจำกัดด้านพื้นที่ของล้านช้างซึ่งขณะนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่นครหลวงพระบางอันส่งผลทั้งด้านการขยายอำนาจและดินแดน ส่วนปัจจัยภายใน คือ มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการตั้งชุมชน มีทรัพยากรทั้งฐานกำลังคนและทรัพยากรธรรมชาติ และคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบล้านนา 
     คำสำคัญ พัฒนาการทางวัฒนธรรม, ล้านช้าง, แม่น้ำเลย, ห้วยน้ำโมง 
ผู้เขียน
615080012-6 น.ส. กุลวดี สมัครไทย [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0