2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มหาธรรมิกราชแห่งยุคของรัฐล้านช้าง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 7 กันยายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษย์ศาสตร์ไทย ครั้งที่ 13 ภูมิภาคนิยม และท้องถิ่นนิยม สมัยใหม่ในโลกไร้พรมแดน วันที่ 6-7 กันยายน 2562  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) 
     สถานที่จัดประชุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     จังหวัด/รัฐ มหาสารคาม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 6 กันยายน 2562 
     ถึง 7 กันยายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 00 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 142-157 
     Editors/edition/publisher กิตติพงษ์ ประพันธ์ 
     บทคัดย่อ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงคุณลักษณะของผู้นำตามคติพระธรรมิกราชของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งล้านช้าง และการนำมาปรับใช้เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับรัฐและราชบัลลังก์ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์(Historical Approach) ผ่านหลักฐานชั้นต้น (Primary Sources) และหลักฐานชั้นรอง(SecondarySources) โดยพบว่าเมื่อสังคมล้านช้างเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชได้รับเอาคติธรรมิกราชของพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์มาประยุกต์ใช้โดยผสมผสานเข้ากับคติความเชื่อของพุทธศาสนามหายานและศาสนาพราหมณ์เป็นลักษณะเฉพาะของอาณาจักรล้านช้าง เพื่อสร้างเป็นเป็นอุดมการณ์หลักในการบริหารปกครองบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง พระองค์ประกาศตนเป็นธรรมิกราชาธิราช ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระสุริยะเพื่อทำหน้าที่หมุนกงล้อแห่งจักรวาลเป็นผู้สั่งสมบุญบารมีมาตั้งแต่อดีตชาติเพื่อที่จะได้เป็นพระโพธิสัตว์นำพาอาณาประชาราษฎร์ให้หลุดพ้นจากความสับสนวุ่นวายและทุกข์ยากและในชาติต่อไปพระองค์ก็จะไปเกิดใหม่ในดินแดนต่างๆ เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในดินแดนนั้นๆ ให้ครบ3 ครั้งในแต่ละแห่ง แล้วพระองค์จะได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรศรีอาริยเมตตรัยบนสวรรค์ชั้นดุสิตเพื่อรอเวลาลงมากกำเนิดในโลกมนุษย์เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่5 ผ่านปฏิบัติการในพื้นที่ทางกายภาพต่างๆ ทั้งคำสั่ง สัญลักษณ์พิธีกรรม กฎหมาย วรรณกรรม 
ผู้เขียน
615080012-6 น.ส. กุลวดี สมัครไทย [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0