2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การบรรเลงกลองชุดประกอบการแสดงหมอลำ: พัฒนาการ และกลวิธีในการบรรเลง  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 1906-6023 
     ปีที่ 15 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของการใช้กลองชุดประกอบการแสดงหมอลำ 2) ศึกษากลวิธีการบรรเลงกลองชุดประกอบการแสดงหมอลำ 3) ศึกษาอัตลักษณ์ของการบรรเลงกลองชุดประกอบการแสดงหมอลำ การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร สื่อบันทึกภาพและเสียง และการลงเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การสนทนา การบันทึกแบบจดบันทึก การใช้เครื่องบันทึกภาพและเสียง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของการใช้กลองชุดประกอบการแสดงหมอลำเกิดจากการริเริ่มของคณะรังสิมันต์ ซึ่งเป็นคณะหมอลำหมู่ที่มีชื่อเสียงจากจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น โดยโกมินท์ พันธุ ได้มีแนวคิดนำกลองชุดมาในใช้ในการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนของคณะเพื่อประกอบการฟ้อนและการลำบางช่วง นับเป็นเครื่องดนตรีตะวันตกชนิดแรกที่มีการนำใช้ในคณะหมอลำ โดยได้ประยุกต์กระสวนจังวะของเครื่องตีในวงรำโทนหรือรำวงมาถ่ายลงสู่กลองชุดจนเกิดเป็นกระสวนจังหวะกลองชุดหมอลำ (drum pattern) และการส่งกลอง (fill in) ที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน กลวิธีการบรรเลงกลองชุดประกอบการแสดงหมอลำมีการพัฒนาไปอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบรรเลงกระสวนจังหวะ พบว่าเป็นการประดับประดากระสวนจังหวะดั้งเดิมที่มีพื้นฐาน จากคณะรังสิมันต์ ส่วนมากมักจะเพิ่มลูกเล่นด้วยฉาบไฮแฮทซึ่งมักจะเพิ่มโน้ตในตำแหน่ง e และ a ของจังหวะ พร้อมกับการส่งกลองซึ่งประกอบด้วยชุดของโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้นและเขบ็ตสองชั้น มักสิ้นสุดการส่งกลองที่ตำแหน่งและ (&) ของจังหวะที่สี่ ในด้านอัตลักษณ์การบรรเลงกลองชุดประกอบการแสดงหมอลำแบ่งได้เป็นสองด้าน อัตลักษณ์เชิงกายภาพในด้านลักษณะท่าทางการบรรเลง ซึ่งมีเอกลักษณ์อยู่ที่การบรรเลงกลองชุดแบบไม่ไขว้มือ ส่วนอัตลักษณ์ทางดนตรีของการบรรเลงกลองชุดประกอบการแสดงหมอลำมีความโดดเด่นที่กระสวนจังหวะ (drum pattern) และการส่ง (fill in) ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า “จังหวะหมอลำ” และ “ลูกส่งกลองหมอลำ”  
     คำสำคัญ กลองชุด, หมอลำ 
ผู้เขียน
587220025-0 นาย ผจญ พีบุ้ง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0