2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาลูกส่งกลองชุดในเพลงหมอลำ ด้วยเทคนิคลิเนียร์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 4 ตุลาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารนานชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานอธิการบดี กองบริหารงานวิจัย งานส่งเสริมการวิจัย 
     ISBN/ISSN 2350-9767 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทความนี้ผู้เขียนต้องการนำเสนอการพัฒนาลูกส่งกลองชุด (drum fill) เพื่อใช้ในเพลงหมอลำ ด้วยเทคนิคลิเนียร์ (linear drumming) โดยต่อยอดจากโครงสร้างของลูกส่งกลองชุดแบบดั้งเดิมที่ใช้ในเพลงหมอลำ ลูกส่งกลองชุดแบบดั้งเดิมที่ใช้ในเพลงหมอลำเป็นลูกส่งที่มีอัตลักษณ์ เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ลูกส่งหมอลำ” ลักษณะโครงสร้างของลูกส่งดังกล่าวมีความยาวสี่จังหวะหรือหนึ่งห้องเพลง (4-beat fill, 1-bar fill) โดยในหนึ่งห้องเพลงแบ่งออกได้เป็นสองประโยค ประโยคละสองจังหวะ คล้ายกับประโยคเพลงแบบถาม-ตอบ ซึ่งใช้กันมาอย่างต่อเนื่องในเพลงหมอลำทุกประเภท ได้แก่ หมอลำเรื่องต่อกลอน หมอลำเพลิน หมอลำซิ่ง และเพลงลูกทุ่ง-หมอลำ หากพิจารณาในแง่พัฒนาการเชิงเทคนิคของลูกส่งกลองชุดที่ใช้ในเพลงหมอลำนับว่ามีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าด้านกระสวนจังหวะกลอง (drum pattern) หรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่า “จังหวะหมอลำ” อย่างเห็นได้ชัด บทความนี้นำเสนอการพัฒนาลูกส่งกลองชุดเพื่อใช้ในเพลงหมอลำโดยนำเอาเทคนิคลิเนียร์สำหรับกลองเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน รวมถึงยังสามารถประยุกต์ใช้กับดนตรีได้หลากหลายประเภท ซึ่งจะเป็นชุดความรู้รวมถึงแนวทางในการสร้างสรรค์ดนตรีประจำถิ่นต่อไป 
     คำสำคัญ กลองชุด, หมอลำ, ลูกส่งกลองชุด, ลิเนียร์  
ผู้เขียน
587220025-0 นาย ผจญ พีบุ้ง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0