2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ อัตลักษณ์ภูมิปัญญาในผ้าทอไทพวนสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 เมษายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศิลป์ปริทัศน์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     ISBN/ISSN ISSN 2651-1991 
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของผ้าทอไทพวนในประเทศไทย 2) ศึกษาอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญางานหัตถกรรมผ้าทอจกไทพวนหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย 3) ออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ภูมิปัญญางานหัตถกรรมผ้าทอจกไทพวนหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมุ่งทำการศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของงานหัตถกรรมผ้าทอของชาวไทพวนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่ต่างๆ ที่มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นชมรมไทยพวนแห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาทำการวิจัยนี้ ทั้งสิ้น 23 จังหวัด แล้วทำการวิเคราะห์คัดกรองความคงอยู่ของอัตลักษณ์งานหัตถกรรมผ้าทอทั้งในส่วนของลวดลาย สีสัน วัสดุ และกระบวนการผลิต แล้วนำอัตลักษณ์ที่พบในงานหัตถกรรมผ้าทอไทพวนนั้นมาผ่านกระบวนการทางสัญญะวิทยา เพื่อให้ได้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ข้อมูลเป็นงานออกแบบผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ที่มีการรวมกลุ่มผลิตงานหัตถกรรมผ้าทอเพื่อจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันทั้งสิ้น 9 กลุ่ม ใน 9 จังหวัด ซึ่งมีงานหัตถกรรมผ้าทอที่เป็นอัตลักษณ์ของตน เมื่อวิเคราะห์ตามทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ พบว่ามีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันของแต่ละกลุ่ม ซึ่งในทุกกลุ่มนี้ มีกลุ่มทอผ้าของชาวไทพวนบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย ที่ยังมีการรักษาอัตลักษณ์ภูมิปัญญางานผ้าทอ ครบทั้งในส่วนของลวดลาย สีสัน วัสดุ และกรรมวิธีการผลิต โดยผลิตภัณฑ์ที่เห็นเด่นชัดที่สุด คือ ผ้าทอตีนจกของชาวไทพวนหาดเสี้ยว ผู้วิจัยจึงนำอัตลักษณ์ของงานผ้าทอตีนจกของชาวไทพวนบ้านหาดเสี้ยว มาทำการวิเคราะห์ถอดสัญญะของลายผ้าทอตีนจก ที่ประกอบไปด้วยแม่ลายหลัก 9 ลาย และลายประกอบ 10 ลาย เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบ คือลวดลายที่ถอดในระดับ Icon Idex และ Symbol รวมทั้งการวิเคราะห์ตีความตามหลักทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ได้เป็นชุดความหมาย 4 ชุด คือชุดความดี ความงาม ความรัก และความเป็นหนึ่งเดียว จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการสังเคราะห์ผ่านกระบวนการออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายในบ้าน จำนวน 4 ชุด ชุดละ 2 ชิ้น รวมได้ผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น 8 ชิ้น ที่ผ่านการปรึกษาและคัดเลือกรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อนำไปทำการประเมินความพึงพอใจในรูปแบบและการใช้งานผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายในบ้าน จากอัตลักษณ์และภูมิปัญญาหัตถกรรมผ้าทอจกไทพวนหาดเสี้ยวทั้ง 8 ชิ้น จากกลุ่มเป้าหมาย คน ผลการประเมินพบว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ชุดความหมาย มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับ มาก  
     คำสำคัญ ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ผ้าทอไทพวน, อัตลักษณ์, การออกแบบผลิตภัณฑ์ 
ผู้เขียน
597220004-9 นาย ชูเกียรติ อนันต์เวทยานนท์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0