2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การใช้การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบในชั้นเรียนฟิสิกส์ เรื่องแรงและสมดุล ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 10 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     สถานที่จัดประชุม อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดพิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 พฤษภาคม 2566 
     ถึง 3 พฤษภาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 10 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 215-228 
     Editors/edition/publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     บทคัดย่อ การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เนื่องด้วยการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ การแสดงความคิดเห็นและอภิปรายภายในชั้นเรียนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการให้เหตุผลเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตนเอง นักเรียนที่ผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนเหล่านี้จะมีความสามารถในการสร้างกรอบความคิดเชิงระบบสำหรับการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ต่อการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบของนักเรียน โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งทำการศึกษาในเรื่องแรงและสมดุลเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยรวบรวมมาจากแบบประเมินทักษะการคิดเชิงระบบที่เก็บข้อมูลจากการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนท้ายการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยนี้เป็นการวัดข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการประเมินทักษะการคิดเชิงระบบของนักเรียนผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบของการคิดเชิงระบบ ประกอบด้วย ตัวแปรภายในระบบ การอธิบายและเชื่อมโยงแต่ละตัวแปร และลักษณะทางระบบ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการคิดเชิงระบบไปในระดับที่สูง มีความเข้าใจในองค์ประกอบการคิดเชิงระบบและสามารถใช้การคิดเชิงระบบเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้ แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบของนักเรียนได้ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่การสร้างแผน ค้นหาข้อมูล สร้างหลักฐาน และการสื่อสาร 
ผู้เขียน
615050185-3 นาย สหชาติ ชวนจิตต์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0