ชื่อบทความ |
ปัจจัยที่สัมพันธ์ของการคลอดติดไหล่ ในผู้คลอด ณ โรงพยาบาลขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
9 มิถุนายน 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
7 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
พฤษภาคม-สิงหาคม 2566 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบ Unmatched case-control study เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคลอดติดไหล่ในผู้คลอดที่มาคลอดบุตรในหน่วยงานห้องคลอดโรงพยาบาลขอนแก่น เก็บข้อมูลย้อนหลังจากแฟ้มข้อมูลผู้คลอดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 ในกลุ่มผู้คลอดที่มีการคลอดติดไหล่จำนวน 163 ราย และกลุ่มผู้คลอดที่ไม่มีการคลอดติดไหล่ จำนวน 326 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงด้วยสถิติ Simple logistic regression และ Multiple logistic regression ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดติดไหล่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย 4 ปัจจัยได้แก่ 1) ค่าดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ (aOR =3.94, 95%CI 1.34-11.58) ผู้คลอดที่เป็นเบาหวาน (aOR =5.37, 95% CI 1.58-28.23) การช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ (aOR =13.251, 95%CI 5.32-32.99) และทารกตัวโต (aOR =49.33, 95%CI 6.19-392.79) ข้อเสนอแนะ พยาบาลผดุงครรภ์ควรส่งเสริมและให้ความรู้แก่ผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์หรือหญิงตั้งครรภ์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมน้ำหนักและการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะอ้วนและ การเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ นอกจากนั้นพยาบาลผดุงครรภ์ควรให้ความสำคัญกับการคัดกรองและประเมินขนาดและน้ำหนักของทารกเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดและวางแผนคลอดที่เหมาะสม รวมทั้งลดโอกาสในการคลอดติดไหล่ |
คำสำคัญ |
คลอดติดไหล่ ปัจจัยเสี่ยง ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ภาวะอ้วน ทารกตัวโต เบาหวานขณะตั้งครรภ์ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|