2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ กลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยาที่ใช้ในห้องผ่าตัดของหน่วยบริการสุขภาพระดับตติยภูมิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 11 พฤษภาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบริหารธุรกิจและภาษา  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยาที่ใช้ในห้องผ่าตัดของหน่วยบริการสุขภาพระดับตติยภูมิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมกระบวนการเดินทางตัดสินใจซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยา และ 2) เพื่อจัดทำกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เคยสั่งซื้อเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยาของหน่วยบริการสุขภาพระดับตติยภูมิในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิสติกส์ (Logistic Regression Analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป แรงกดดัน 5 ประการ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการซื้อเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญที่สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐาน และชื่อเสียงกับความน่าเชื่อถือของบริษัทในการจัดจำหน่าย ในส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7 P’s) ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ ด้านสินค้า ด้านราคา ด้านช่องทางจำหน่ายสินค้า ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านกายภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญระดับ มากที่สุด จำนวน 31 ข้อ กระบวนการเดินทางตัดสินใจซื้อ (5A’s) ประกอบด้วย ด้านการรับรู้ ด้านการดึงดูดใจ ด้านการสอบถาม ด้านการลงมือทำ และด้านการสนับสนุน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วย มากที่สุด จำนวน 23 ข้อ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การสั่งซื้อสินค้ามีหลากหลาย 2) มีสินค้าตัวอย่างให้ทดลองใช้ 3) พนักงานขายมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส 4) พนักงานขายมีการติดตามผลการใช้งานผลิตภัณฑ์หลังการขาย ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยา โดยมีกระบวนการเดินทางตัดสินใจซื้อ (5A’s) จำนวน 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยาจากพนักงานขาย 2) มีการเปรียบเทียบราคาของเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยาจากหลายบริษัท 3) มีการตัดสินใจเลือกซื้อเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยาที่มีราคาเหมาะสมโดยการขอใบเสนอราคาเปรียบเทียบราคา 4) หากพบว่าสินค้ามีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานจะทำการจัดซื้อซ้ำ 5) หากพึงพอใจในสินค้าและบริการของพนักงานขายจะทำการจัดซื้อซ้ำ 6) หากพบว่าสินค้ามีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานจะทำการบอกต่อเพื่อนร่วมงานหรือเครือข่าย 7) หากพึงพอใจในสินค้าและการบริการของพนักงานขายจะทำการบอกต่อเพื่อนร่วมงานหรือเครือข่าย ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยา ผู้วิจัยจึงได้เสนอกลยุทธ์การตลาดในการเพิ่มยอดขายเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยาจำนวน 4 กลยุทธ์ 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการที่ 1 Best Performance Employee Award โครงการที่ 2 Brand Loyalty Program โครงการที่ 3 Co-Creation for Research and Innovation Development และโครงการที่ 4 Business Partner (B2B)  
     คำสำคัญ กลยุทธ์การตลาด, เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มิใช่ยา, หน่วยบริการสุขภาพตติยภูมิ 
ผู้เขียน
645740187-9 นาย ภีรพล มูลพรม [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0