2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของออสโมแลลิตีของน้ำยาเจือจางการแช่แข็งต่อ คุณภาพน้ำเชื้อหลังการทำละลายและการผสมติดของ น้ำเชื้อไก่ป่าตุ้มหูขาว 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 1 มีนาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ “BCG Model for Agriculture” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร 
     จังหวัด/รัฐ ยโสธร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 มีนาคม 2566 
     ถึง 1 มีนาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 26 
     Editors/edition/publisher นายดุสิต สะดวก 
     บทคัดย่อ ประสิทธิภาพการเก็บรักษาน้ำเชื้อแช่แข็งในไก่ ขึ้นกับค่าออสโมแลลิตีของน้ำยาเจือจาง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าออสโมแลลิตีน้ำยาเจือจางสำหรับการเก็บรักษาน้ำเชื้อแช่แข็งไก่ป่าตุ้มหูขาว โดยทำการศึกษาน้ำยาเจือจางที่มีออสโมแลลิตีแตกต่างกัน ได้แก่ น้ำยาเจือจางที่มีออสโมแลลิตีต่ำ (LTRJFE), ปกติ (TRJFE) และสูง (HTRJFE) ตามลำดับ เปรียบเทียบกับน้ำยาเจือจาง Schramm ด้วยแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยใช้น้ำเชื้อไก่ป่าตุ้มหูขาวอายุ 1 ปี จำนวน 25 ตัว ประเมินคุณภาพน้ำเชื้อหลังทำละลายโดยประเมินการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิด้วยเครื่อง Computer-assisted semen analysis จำนวน 4 ทรีทเมนต์ ๆ ละ 12 ซ้ำ และประเมินการผสมติดโดยใช้แม่ไก่ไข่ลูกผสมทรีทเมนต์ละ 6 ซ้ำ ๆ ละ 6 ตัว รวม 144 ตัว พบว่าน้ำยาเจือจาง Schramm, LTRJFE, TRJFE และ HTRJFE มีค่าออสโมแลลิตี 441, 365, 452 และ 472 mOsmol kg–1 ตามลำดับ การเคลื่อนที่ทั้งหมดของตัวอสุจิหลังทำละลาย พบว่าน้ำยาเจือจาง TRJFE (61.08±0.48%) ดีที่สุด สูงกว่าน้ำยาเจือจาง Schramm (54.83±0.52%), HTRJFE (37.83±0.66%) และ LTRJFE (31.67±0.58%) (P≤0.01) น้ำเชื้อที่ใช้น้ำยาเจือจาง TRJFE มีค่าการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของตัวอสุจิ (24.50±0.79%) สูงที่สุด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำยาเจือจาง Schramm (23.25±0.58%), HTRJFE (21.83±1.04%) และ LTRJFE (21.00±0.83%) อัตราการผสมติดพบว่าน้ำยาเจือจาง TRJFE (57.00±0.70%) และ Schramm (54.22±0.68%) ดีที่สุด สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำยาเจือจาง HTRJFE (32.90±1.74%) และ LTRJFE (31.02±2.17%) ดังนั้น น้ำยาเจือจาง TRJFE มีความเหมาะสมในการใช้เป็นน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อแช่แข็งในไก่ป่าตุ้มหูขาว คำสำคัญ: น้ำยาเจือจาง, การเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง, อัตราการผสมติด, ไก่ป่าตุ้มหูขาว (Gallus gallus gallus)  
ผู้เขียน
597030007-1 นาง สินีนาฎ พลแสง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล นำเสนอผลงานทางวิชาการดีเยี่ยม 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 1 มีนาคม 2566 
แนบไฟล์
Citation 0