2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลการลดจำนวนเชื้อแอกกริเกทิแบกเตอร์ แอกทิโนมัยซิเทมโคมิแทนส์ ด้วยกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกโดยมีสารไวแสงจากเจลสกัดขมิ้นชัน เมื่อกระตุ้นด้วยแสงสีฟ้าจากเครื่องฉายแสงทางทันตกรรมโดย มีความเข้มแสง และปลายท่อนำแสงต่างกัน: การศึกษาในห้องปฏิบัติการ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 24 (National Graduate Conference 1/2023) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงเรียนเสนาธิการทหารบก  
     จังหวัด/รัฐ ประเทศไทย 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 พฤษภาคม 2566 
     ถึง 22 พฤษภาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ บทความที่ 31 
     Editors/edition/publisher Professor Dr.Kittisak Jermsittiparsert 
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการใช้สารสกัดขมิ้นชันด้วยรูปแบบเจลเป็นสารไวแสงในการลดเชื้อแอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโนมัยซิเทมโคมิแทนส์ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงสีฟ้าจากเครื่องฉายแสงทางทันตกรรมในกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิก โดยศึกษาเปรียบเทียบเมื่อใช้ร่วมกับหัวนำแสงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่เพื่อให้สะดวกต่อการใช้จริงในคลินิก รวมถึงเปรียบเทียบความเข้มแสงของเครื่องฉายแสงที่ต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าผลิตขึ้นใหม่จากการขึ้นรูปอะคริลิก ชนิดบ่มเองให้กำลังแสงที่สูงที่สุด โดยมากกว่าปลายท่อนำแสงที่ทำขึ้นจากแก้วประมาน 3-4 เท่า เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องฉายแสงที่มีความเข้มแสงเท่ากัน โดยกำลังแสงที่ได้จะแปรผันตามความเข้มแสงของเครื่องฉายแสงทางทันตกรรม และผลของการฉายแสงกระตุ้นเจลขมิ้นชันความเข้มข้น 62.5 ไมโครกรัมต่อกรัม ด้วยเครื่องฉายแสงที่มีความเข้มแสงสูง 2200-3000 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ให้ผลเท่ากับการฉายด้วยเครื่องฉายแสงที่มีความเข้มแสง 1000-1200 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ในการยับยั้งเชื้อแอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโนมัยซิเทมโคมิแทนส์ ที่เวลา 0, 24, 36 และ 48 ชั่วโมง (p > 0.05) ดังนั้นปลายท่อนำแสงชนิดใหม่สามารถใช้ร่วมกับเครื่องฉายแสงทางทันตกรรมเพื่อการกระตุ้นเจลขมิ้นชันในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบด้วยกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิก โดยให้ผลการลดเชื้อไม่แตกต่างกับการใช้ปลายท่อนำแสงที่ทำมาจากแท่งแก้ว 
ผู้เขียน
645130016-4 น.ส. น้ำทิพย์ เตโชเรืองวิวัฒน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 3