2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาเดี่ยวจะเข้เพลงลาวแพนจากแผ่นเสียงโบราณ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 15 สิงหาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร Mahidol Music Journal 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ิวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
     ISBN/ISSN ISSN:๒๕๘๖-๙๙๗๓[Print], ๒๗๗๔-๑๓๒x[Online] 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มีนาคม ๒๕๖๖ – สิงหาคม ๒๕๖๖
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 82-98 
     บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการบันทึกแผ่นเสียงเดี่ยวจะเข้เพลงลาวแพน จากแผ่นเสียงโบราณ และเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างทํานองและกลวิธีการบรรเลงเดี่ยวจะเข้เพลงลาวแพน ดําเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวม ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผลการวิจัยพบว่า เพลงลาวแพนนั้นแปลงมาจากเพลงลาวแคน มีโครงสร้างเพลงเดี่ยว ลาวแพนหลากหลายรูปแบบ การผูกร้อยบทเพลงสําเนียงลาวสองชั้น สามารถกระทําได้ตาม ความเหมาะสม โดยจําเป็นจะต้องยึดแนวทางและหลักการของครูโบราณไว้เป็นสําคัญ ในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2451 จนถึงปี พ.ศ. 2501 พบผลงานการบันทึกเสียงของศิลปินจํานวน 5 ท่าน คือ (1) ครูเจริญ บุนนาค แผ่นเสียงตราโอเดียนหมายเลข 101555 บันทึกเสียงประมาณ พ.ศ.2451-2453 ประกอบด้วย ลาวแพนใหญ่ และซุ้มลาวแพน (2) คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ แผ่นเสียงตราโคลัมเบีย หมายเลข 51027-1 และ 51027-2 บันทึกเสียงในปี พ.ศ. 2472 ประกอบด้วย ต้นลาวแพน และลาวแพนใหญ่ (3) ครูประคอง ประไพรัตน์ แผ่นเสียงตรากระต่ายหมายเลข TC219 และ TC210-2 บันทึกเสียงในปี พ.ศ. 2473 ประกอบด้วย ต้นลาวแพน ลาวแพนใหญ่ ลาวแพนน้อย ลาวลอดค่าย ลาวสมเด็จ และซุ้มลาวแพน (4) ครูละเมียด จิตตเสวี แผ่นเสียงตราสังข์ทองหมายเลข STC1027 และ STC1028 บันทึกเสียงในปี พ.ศ. 2500 ประกอบด้วย ลาวแพนใหญ่ ลาวแพนน้อย ลาวสมเด็จ ลาวลอดค่าย และซุ้มลาวแพน และ (5) ครูระตี วิเศษสุรการ แผ่นเสียงตราสุนทราภรณ์ หมายเลข SSP001 และ SSP004 บันทึกเสียงในปี พ.ศ. 2501 ประกอบด้วย ต้นลาวแพน ลาวแพนใหญ่ และซุ้มลาวแพน สําหรับกลวิธีพิเศษที่พบในการบรรเลงเดี่ยวจะเข้เพลงลาวแพนจากแผ่นเสียงโบราณมี ทั้งหมด 10 กลวิธี ได้แก่ รูดรัว กระทบสองสาย กระทบสามสาย สะบัดเสียงเดียว สะบัดสองเสียง สะบัด สามเสียง ตบสาย ขยี้ปริบ และโปรย 
     คำสำคัญ แผ่นเสียงโบราณ, เพลงเดี่ยว, จะเข้, ลาวแพน 
ผู้เขียน
615220013-6 น.ส. นลินนิภา ดีทุม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0