2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ และการเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ 
Date of Acceptance 8 September 2023 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
     Standard TCI 
     Institute of Journal มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
     ISBN/ISSN ISSN 2351-0366 
     Volume 18 
     Issue
     Month กันยายน -ธันวาคม
     Year of Publication 2023 
     Page  
     Abstract แบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ (Health Belief Model; HBM) เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของบุคคลที่แสวงหาแนวทางเพื่อปฏิบัติตามคำแนะนำและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบองค์รวมให้เป็นไปได้ในทิศทางที่ดีและเหมาะสมซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น การรับวัคซีนเข็มกระตุ้นสามารถลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ แต่พบว่าประชาชนบางกลุ่มยังมีความลังเลใจในการที่จะเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัตราการรับวัคซีนเข็มกระตุ้นป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 2) ระดับการรับรู้แบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพเกี่ยวกับการเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่าง HBM และการเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนจังหวัดชัยภูมิจำนวน 1,872 ราย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือน มกราคม ถึง เมษายน 2566 และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอัตราการรับวัคซีนเข็มกระตุ้น ร้อยละ 91.24 และการรับรู้ความเชื่อทางด้านสุขภาพโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (x ̅= 112.99, S.D = 14.80) เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง (x ̅= 20.20, S.D = 4.00) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (x ̅= 11.15, S.D = 2.28) อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการติดเชื้อ (OR = 2.11, 95%CI =1.08-4.12, p-value = 0.028) การรับรู้ประโยชน์ (OR = 3.64, 95%CI = 2.04-6.48, p-value < 0.001) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (OR = 3.38, 95%CI = 1.91-6.00, p-value < 0.001) การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐควรสร้างแนวทางและพัฒนาช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 เพื่อป้องกันการติดเชื้อและความรุนแรง  
     Keyword วัคซีนเข็มกระตุ้น แบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ โรคโควิด-19 การรับรู้ 
Author
645110107-3 Mr. DEACHAWAT KRONGSOMBAT [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0