2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยในการคัดแยกขยะติดเชื้อ กรณีศึกษา: พื้นที่เขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 
Date of Distribution 22 November 2023 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ โฮมภูมิ ครั้ง 5 โฮมดี มีแฮง 
     Organiser คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  
     Conference Place มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 23 November 2023 
     To 23 November 2023 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue 978-616-438-868-0 
     Page 70-88 
     Editors/edition/publisher ขยะติดเชื้อ หน้ากากอนามัย ชุดตรวจ ATK พฤติกรรมการคัดแยกขยะ ปัจจัยในการคัดแยกขยะ  
     Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยในการคัดแยกขยะติดเชื้อของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งพื้นที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 4 เขตการปกครอง ได้แก่ เขตที่ 1 บึงทุ่งสร้าง เขตที่ 2 ศรีจันทร์ เขตที่ 3 เมืองเก่า เขตที่ 4 หนองแวง การศึกษานี้ได้ทำการเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารรายงานและข้อมูลจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมและปัจจัยในการคัดแยกขยะ จากประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีการคัดแยกขยะติดเชื้อ ก่อนนำทิ้ง คิดเป็น 35.8 % และ ไม่มีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง คิดเป็น 64.3 % ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ผลการศึกษาพฤติกรรมการคัดแยกขยะติดเชื้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ (1) ช่วงก่อนการเกิดโรคระบาดโควิด (ช่วงย้อนหลังจาก ปี พ.ศ.2562) (2) ช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาดโควิด (ช่วง ปี พ.ศ. 2562 - พ.ศ.2565) และ (3) ช่วงหลังจากเกิดโรคระบาด (ช่วงปี พ.ศ.2565 เป็นต้นไป) ) พบว่า ช่วงก่อนเกิดโรคระบาดมีการคัดแยกขยะติดเชื้อใส่ถุงแดงก่อนนำไปทิ้งคิดเป็นร้อยละ 16.8 เท่านั้น แต่ในช่วงที่เกิดโรคระบาด มีการคัดแยกขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 27.3 และลดลงเป็น ร้อยละ 21.7 หลังเกิดโรคระบาด ส่วนทางด้านปัจจัยในการคัดแยกขยะติดเชื้อ พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนมีความรู้ในเรื่องชนิดประเภทของขยะติดเชื้อที่ควรคัดแยกออกจากขยะประเภทอื่น ด้านทัศนคติ ประชาชนไม่ได้คิดว่าการแยกขยะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อน ด้านปัจจัยเอื้อ พบว่า ภาชนะรองรับในการคัดแยกขยะติดเชื้อมีไม่เพียงพอและสถานที่ทิ้งขยะติดเชื้ออยู่ห่างไกลจากชุมชน ทำให้ประชาชนไม่คัดแยกและทิ้งขยะติดเชื้อรวมกับขยะทั่วไป โดยข้อมูลจากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานเทศบาลนครขอนแก่นจะสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้กำหนดแนวทางการจัดการและส่งเสริมการคัดแยกขยะติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพต่อไป  
Author
645200004-2 Miss KANYA WARIN [Main Author]
Architecture Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0