2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การออกแบบแผนผังศูนย์ขนถ่ายกระจายสินค้า เพื่อรองรับสินค้านำเข้าผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 18 ตุลาคม 2555 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2555 (IE Network Conference 2012) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเมธาวลัย ชะอำ อำเภอชะอำ 
     จังหวัด/รัฐ เพชรบุรี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 ตุลาคม 2555 
     ถึง 19 ตุลาคม 2555 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 12 
     Issue (เล่มที่) 2555 
     หน้าที่พิมพ์ 372 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 (นครพนม – คำม่วน) มีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงทางด้านโลจิสติกส์ ระหว่างไทย กับ จีนตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เส้นทางดังกล่าวยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการค้าและการขนส่ง ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบแผนผังของศูนย์ขนถ่ายและกระจายสินค้าที่มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 (นครพนม – คำม่วน) สำหรับการรองรับสินค้าหลัก 9 กลุ่มที่มีการนำเข้าจากประเทศจีน ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า นาฬิกา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเลคทรอนิคส์ รองเท้า อัญมณีและเครื่องประดับ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ และ เครื่องอุปโภคบริโภค โดยใช้เทคนิคการวางแผนผังอย่างเป็นระบบ (SLP : Systematic Layout Planning Pattern) ด้วยอัลกอลิทึมการจัดวางแผนผังแบบ CORELAP (Computerized Relationship Layout Planning) ซึ่งแผนผังที่ทำการออกแบบนั้นสามารถรองรับปริมาณสินค้านำเข้าที่มีการพยากรณ์ไปจนถึงปี พ.ศ.2565 คิดเป็นมูลค่ากว่า 28,000 ล้านบาท และรองรับกิจกรรมการเปลี่ยนถ่ายสินค้า การตรวจสอบ การคัดแยก การบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ และการส่งต่อสินค้า ทั้งยังช่วยลดการขนส่งย้อนกลับของสินค้านำเข้า เนื่องจากศูนย์ฯสามารถรวบรวมและกระจายสินค้าให้กับตลาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยไม่ต้องขนส่งจากตลาดกลางในกรุงเทพมหานคร คำหลัก :ศูนย์ขนถ่ายและกระจายสินค้า, การวางผังโรงงานอย่างเป็นระบบ, CORELAP  
ผู้เขียน
535040015-6 นาย ณัฐพล พรร่มโพธิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0