ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ระดับความรู้สึกปวด และการจัดการความปวดเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อคอและบ่าในกลุ่มอาชีพจักสาน |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
21 สิงหาคม 2557 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 31 เรื่อง “การพัฒนาผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธนบุรี ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือวิชาการ-วิจัยสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัยแห่ง ประเทศไทย(สคบท) |
สถานที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยธนบุรี |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
21 สิงหาคม 2557 |
ถึง |
21 สิงหาคม 2557 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2557 |
Issue (เล่มที่) |
978-616-91899-1-6 |
หน้าที่พิมพ์ |
235-242 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้สึกปวดและวิธีการจัดการความปวดเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อคอและบ่าในกลุ่มอาชีพจักสาน ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงจำนวน 60 คน ณ ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และมาตรวัดระดับความรู้สึกปวดด้วยสายตา (Visual Analog Scale: VAS) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของระดับความรู้สึกปวดกล้ามเนื้อคอและบ่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา อยู่ในระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลาง (mean + SD= 4.77+2.21) การจัดการความปวดเรื้อรังบริเวณคอและบ่าที่เลือกใช้มากที่สุด คือ การนวด (ร้อยละ 48.3) รองลงมาคือ การใช้ยาแก้ปวด (ร้อยละ25) การพบแพทย์ (ร้อยละ 16.7) และการนอนพัก (ร้อยละ 10) ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางสาธารณสุขในการส่งเสริมและออกแบบวิธีการจัดการความปวดในกลุ่มอาชีพจักสานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ: อาชีพจักสาน ปวดเรื้อรัง การจัดการความปวด ระดับความรู้สึกปวด
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|