2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ พัฒนาการทางการค้าชายแดนในพื้นที่ตลาดชายแดน จุดผ่อนปรนบ้านหนองมน จังหวัดหนองคาย  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 มิถุนายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม สัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ครั้งที่ 16 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     สถานที่จัดประชุม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     จังหวัด/รัฐ พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 มิถุนายน 2560 
     ถึง 30 มิถุนายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 16 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 78 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางการค้าชายแดนในพื้นที่จุดผ่อนปรนบ้านหนองมน จังหวัดหนองคาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้รู้ในชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐไทย ผู้ค้าลาวข้ามพรมแดน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมการค้าชายแดน ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่จุดผ่อนปรนบ้านหนองมนเป็นชุนชมชายแดนที่ผู้คนทั้งสองฝั่งโขงมีความยึดโยงกันผ่านเครือญาติ และการมีลักษณะร่วมทางชาติพันธุ์เดียวกัน อีกทั้งมีความสัมพันธ์ทางการค้ามาอย่างยาวนานก่อนการแบ่งเส้นเขตแดนรัฐชาติ โดยใน พ.ศ. 2518 ช่วงสงครามเย็น รัฐชาติทั้งสองฝั่งได้ปิดชายแดนเพื่อตัดขาดความสัมพันธ์ของผู้คนอันเป็นผลมาจากความแตกต่างของอุดมการณ์ทางการเมือง อย่างไรก็ตามผู้คนยังลักลอบไปมาหาสู่ระหว่างกันจนกระทั่งในช่วง พ.ศ. 2531 - 2534 ซึ่งเป็นช่วงของนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ผนวกกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้มีนโยบายจินตนาการใหม่ที่เน้นเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจจากสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องและจัดตั้งเป็นจุดผ่อนปรนบ้านหนองมนและตลาดชายแดนขึ้นใน พ.ศ.2542 และเปิดทำการในวันพุธ ศุกร์ และอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำมาสู่ความสัมพันธ์ทางการค้าที่เข้มข้นโดยมีเงินเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งต่างจากเดิมที่มักเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนสินค้า ระหว่างกัน สินค้านำเข้าจากสปป.ลาว ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทย ได้แก่ เครื่องจักสาน ยาสมุนไพร ของป่าตามฤดูกาล เป็นต้น ส่วนอาหารสด อาหารสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า มักเป็นสินค้าที่เป็นที่นิยมของชาวลาว  
ผู้เขียน
585080038-5 น.ส. สุดารัตน์ ศรีอุบล [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum