2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การทดสอบความแม่นยำสำหรับลักษณะสเปกตรัมของวิสิเบิล-ชอร์ทเวฟเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีสำหรับ การวัดค่าคุณภาพของอ้อยลำ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 เมษายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ระดับชาติ ครั้งที่ 19 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์ประชุมนานาชาติจุฬาภรณ์ (วรวนา หัวหิน โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น) อ.หัวหิน 
     จังหวัด/รัฐ ประจวบคีรีขันธ์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 เมษายน 2561 
     ถึง 27 เมษายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 19 
     Issue (เล่มที่) 19 
     หน้าที่พิมพ์ 421-425 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ เครื่องวิสิเบิล-เนียร์อินฟราเรดแบบพกพา เป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดค่าคุณภาพอ้อยในแปลงแบบไม่ทำลายตัวอย่าง วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อทดสอบความสามารถในการทวนซ้ำ (Repeatability) และการทำซ้ำ (Reproducibility) ของค่าการดูดกลืนแสง ซึ่งบ่งชี้ถึงความแม่นยำของเครื่องวิสิเบิล-เนียร์อินฟราเรดแบบพกพา โดยทดสอบสแกนอ้อยลำ ในโหมดอินเทอร์แอกแทนซ์ (interactance) ที่ความยาวคลื่นย่านวิสิเบิลและเนียร์อินฟราเรดช่วงคลื่นสั้น (570-1031 nm) ด้วยการสแกน 4 วิธีการทดสอบ (Treatments) ประกอบด้วย สแกนอ้อยที่มีผิวตามธรรมชาติ แบบยกหัววัดและแบบไม่ยกหัววัด หลังจากนั้นจึงขูดไขที่ผิวอ้อยออก แล้วสแกนที่จุดเดิมโดยใช้วิธีการเดิมอีกครั้ง แต่ละวิธีการทดสอบใช้ตัวอย่างอ้อย 10 ลำ วัดซ้ำจุดเดิมลำละ 10 ครั้ง โดยเลือกจุดที่มีไข ค่าสเปกตรัมการดูดกลืนแสง 3 ความยาวคลื่นที่มีผลต่อการทำนายค่าคุณภาพอ้อย ประกอบไปด้วย 670, 913 และ 970 nm ถูกใช้ในการทดสอบ ผลการทดสอบพบว่า เมื่อวัดอ้อยที่มีผิวตามธรรมชาติ จะมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการวัดทวนซ้ำ และการทำซ้ำเท่ากับ 0.01281 และ 0.1259 ตามลำดับ ส่วนอ้อยที่ถูกขูดไขที่ผิวออก ได้ค่าเฉลี่ยการวัดทวนซ้ำ และการทำซ้ำเป็น 0.0091 และ 0.0959 ตามลำดับ และสรุปได้ว่า การขูดไขออก ช่วยให้เครื่องวิสิเบิล-เนียร์อินฟราเรดแบบพกพามีความสามารถในการวัดทวนซ้ำ และการทำซ้ำ เพิ่มขึ้น หรือมีความแม่นยำในการวัดเพิ่มขึ้น 
ผู้เขียน
595040033-0 นาย อาทิตย์ ภูผาผุด [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum