ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
อุปนิสัยในการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด
|
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
26 มกราคม 2562 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 5 "คณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนแนวใหม่เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียน" |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยสมาคมคณิตศาสตรศึกษา |
สถานที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี |
จังหวัด/รัฐ |
อุบลราชธานี |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
26 มกราคม 2562 |
ถึง |
28 มกราคม 2562 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2019 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
39 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจอุปนิสัยในการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียน ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิเคราะห์โพรโทคอลและการบรรยายเชิงวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน โรงเรียนบ้านโนนแสนคำหนองศาลาศรีสะอาด อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และเป็นชั้นเรียนที่อยู่ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งโรงเรียนมีการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ของศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ เครื่องบันทึกเสียง และแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การบวกเลขสองหลักที่มีตัวทด จำนวน 1 แผน ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วยโพรโทคอล และผลงานเขียนของนักเรียน ในการวิจัยนี้ใช้กรอบแนวคิดของ Cuoco, Goldenberg, and Mark (1996) ในการสำรวจหาอุปนิสัยในการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในช่วงที่นักเรียนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน
ผลการวิจัย พบว่า ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด นักเรียนมีอุปนิสัยในการคิดทางคณิตศาสตร์ ดังนี้ 1) การคิดเกี่ยวกับการค้นพบแบบรูป โดยนักเรียนค้นพบแบบรูปของการบวกโดยใช้การทดได้แก่ การทด 10 หน่วย ให้เป็น 1 สิบ 2) การคิดเกี่ยวกับการทดลอง โดยนักเรียนมีการทดลองใช้แนวคิดของการบวกในแนวนอน การบวกในแนวตั้ง การใช้เหรียญ และ การใช้บล็อก ในการแก้ปัญหาการบวกโดยใช้การทด 3) การคิดเชิงนักอธิบาย โดยนักเรียนมีการอธิบายโดยใช้วิธีเขียนและอธิบายโดยใช้ปากเปล่า 4) การคิดเกี่ยวกับการเชื่อมประสาน โดยนักเรียนสามารถเชื่อมผสานแนวคิดต่างๆ ให้เข้ากันได้ 5) การคิดเชิงการประดิษฐ์ โดยนักเรียนได้ประดิษฐ์แนวคิดในการแก้ปัญหาโดยการออกแบบและเขียนแสดงเหตุผลด้วยภาษาของตนเอง ได้แก่ รวม ใส่ เข้า เพื่อแทนคำว่า “ทด” จากหลักหน่วยเป็นหลักสิบ 6) การคิดเชิงการวาดภาพ โดยนักเรียนสามารถแปลงข้อความของสถานการณ์ปัญหาออกมาเป็นภาพจำลองที่ช่วยให้นักเรียนมีแนวคิดหรือเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ ได้แก่ การวาดภาพแสดงแทนบล็อก การวาดภาพแสดงแทนเหรียญ 7) การคิดเชิงการคาดการณ์ โดยนักเรียนสามารถสร้างข้อคาดการณ์ที่สมเหตุสมผลเพื่อทำนายวิธีการแก้ปัญหาโดยการเขียนประโยคสัญลักษณ์ พร้อมทั้งแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และ 8) การคิดเชิงการคาดเดา โดยนักเรียนมีการคาดเดาคำตอบและแนวทางการแก้ปัญหา จากนั้นมีการตรวจสอบโดยการแสดงวิธีทำอย่าละเอียดเพื่อยืนยันการคาดเดาดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงแนวคิดในการแก้ปัญหา
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Abstract |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|