2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ พลวัตของการควบคุมจัดการพื้นที่ตลาดชายแดนไทย - สปป.ลาว จังหวัดหนองคาย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 กรกฎาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะมุนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 0125-5061 
     ปีที่ 37 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า
     บทคัดย่อ บทความนี้นำเสนอพลวัตการควบคุมพื้นที่ชายแดนไทย – สปป. ลาว จุดผ่อนปรนบ้านหนองมน จังหวัดหนองคาย โดยใช้แนวคิดระบอบชายแดนในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ ข้อมูลที่ปรากฏในบทความเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม มีผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อาวุโสในชุมชน 5 คน ผู้นำชุมชน 3 คน เจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลาง 2 คน เจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น 4 คน ผู้ค้าลาวข้ามพรมแดน 22 คน แรงงานรับจ้างแบกของ 3 คน คนขับเรือ 3 คน คนขับรถรับจ้าง 3 คน เป็นต้น การเลือกผู้ให้ข้อมูลใช้ทั้งวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและการเลือกแบบให้ผู้ให้ข้อมูลบอกต่อผู้ให้ข้อมูลคนต่อไป ผลการศึกษาพบว่า หลังสิ้นสุดสงครามเย็น อิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ที่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านต่างๆ อาทิ ด้านสิทธิมนุษยชน สภาพแวดล้อม การค้าเสรี ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ได้แผ่ขยายไปทั่วมุมโลก โดยเฉพาะในพื้นที่จุดผ่อนปรนบ้านหนองมนซึ่งเป็นชุนชมชายแดนที่ผู้คนทั้งสองฝั่งโขงมีความสัมพันธ์ยึดโยงกันผ่านเครือญาติ และมีลักษณะร่วมทางชาติพันธุ์เดียวกัน อีกทั้งมีความสัมพันธ์ทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน ภายหลังจากการที่ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศซึ่งสัตว์ป่าและชนิดพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ “อนุสัญญาไซเตส” ซึ่งเป็นระบอบชายแดนที่เป็นระเบียบกฎเกณฑ์ในการควบคุมกำกับกิจกรรมการข้ามพรมแดนของผู้คนและสินค้า ส่งผลให้วิถีการค้าขายสัตว์ป่าที่เป็นอาชีพประเพณีของผู้คนในพื้นที่ชายแดนได้กลายเป็นสิ่งที่ถูกเรียกว่า การลักลอบค้าขายสัตว์ป่าข้ามพรมแดน สะท้อนให้เห็นว่าระบอบการควบคุมชายแดนที่รัฐมุ่งเน้นให้พื้นที่ชายแดนมีความเป็นสากล มีเข้มงวด เป็นการมองพื้นที่ชายแดนแบบแข็งทื่อ (hard border) ที่เน้นเพียงความมั่นคงของรัฐไม่สามารถทำความเข้าใจความซับซ้อนและพลวัตของพื้นที่ชายแดน ผู้เขียนจึงเสนอมุมมองในการทำความเข้าใจวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายใต้การมองพื้นที่ชายแดนแบบยืดหยุ่น (soft border) ที่ไม่อาจละเลยความสำคัญของกฎจารีตท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์ ความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ยังดำรงอยู่ในพื้นที่ชายแดนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของระบอบในการควบคุมพื้นที่ชายแดนในแต่ละยุคสมัย 
     คำสำคัญ ระบอบชายแดน จุดผ่อนปรน การควบคุมจัดการพื้นที่ชายแดนไทย - สปป. ลาว โลกาภิวัตน์ 
ผู้เขียน
585080038-5 น.ส. สุดารัตน์ ศรีอุบล [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0