2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสัมพันธ์ของค่าการสูดลมหายใจเข้าสูงสุดและค่าแรงเป่าลมหายใจออกสูงสุด ในผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) เรื่อง “อนาคตอุดมศึกษาไทยภายใต้บริบทโลก 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     สถานที่จัดประชุม เดอะ ไทด์ รีสอร์ท  
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดชลบุรี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 24 ตุลาคม 2562 
     ถึง 25 ตุลาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 719-727 
     Editors/edition/publisher บรรณาธิการ คณะกรรมการกองบรรณาธิการจัดทำรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ปอมท. ประจำปี พ.ศ. 2562 / จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 
     บทคัดย่อ ปัจจุบันการรักษาโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีการรักษาด้วยยาที่หลากหลาย โดยเฉพาะยาสูดพ่น ปัจจุบันมีการนำ In-Check Dial® มาใช้เป็นตัวช่วยทำนายและเลือกรูปแบบยา แต่ด้วยราคาที่สูงทำให้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงเครื่องมือจึงมีการนำเครื่องมือ Peak Flow Meter มาช่วยในการทำนาย การศึกษาก่อนหน้ามีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง In-Check® และ Peak Flow Meter แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างค่า Peak Inspiratory Flow Rate (PIF) ที่ได้จาก In-Check® และ Peak Expiratory Flow Rate (PEF) ที่ได้จาก Peak Flow Meter ในประเทศไทย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่า PIF และ PEF ในผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การศึกษาวิจัยเป็นการวิเคราะห์ย้อนหลังแบบภาคตัดขวาง ในผู้ป่วยนอกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561 โดยการทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ และจากฐานข้อมูลการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจของโรงพยาบาล ผลการศึกษา พบว่า มีผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 513 ราย เป็นผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ 265 และ 248 รายตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของอายุอยู่ที่ 62 ปี พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างค่า PIF และ PEF ของผู้ป่วยโรคหืด พบว่า ค่า PIF ที่ได้จากการทดสอบด้วยแรงต้านแบบ MDI และ DPIs มีความสัมพันธ์กับค่า PEF ในทิศทางเดียวกันเชิงบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson เท่ากับ 0.491 และ 0.643 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างค่า PIF และ PEF ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่า ค่า PIF ที่ได้จากการทดสอบด้วยแรงต้านแบบ MDI และ DPIs มีความสัมพันธ์กับค่า PEF ในทิศทางเดียวกันเชิงบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson เท่ากับ 0.495 และ 0.465 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เช่นเดียวกัน สรุปผล ค่า PIF และ PEF มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาจนำค่า PEF มาใช้ในการทำนายดูแนวโน้มค่า PIF ได้ 
ผู้เขียน
585150016-6 นาย ณัฐวัฒน์ กังวานศิรวัธน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0