2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การสร้างรอยผุบนเนื้อฟันมนุษย์จากแบบจำลองด้วยเชื้อก่อโรคในห้องปฏิบัติการ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 พฤษภาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5 การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research To Make A CHANGE) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ศูนย์พัฒนานวัตกรรม ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 พฤษภาคม 2563 
     ถึง 29 พฤษภาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 20-31 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการสร้างรอยผุสำหรับใช้ประโยชน์ในงานวิจัยทางทันตก รรม ด้วยเชื้อก่อโรค 2 สายพันธุ์ คือ สเตร็ปโตค็อคคัส มิวแทนส์และแลคโตบาซิลลัส อะซิโดฟิลลัส ให้เจริญเติบโต ร่วมกันบนชิ้นเนื้อฟันจำนวน 4 ชิ้น เป็นระยะเวลา 1 3 และ 5 วัน โดยมีชิ้นเนื้อฟันปกติเป็นกลุ่มควบคุม เลี้ยงใน อาหารชนิดเหลว De man Rogosa and Sharpe (MRS) ร่วมกับซูโครสร้อยละ 5 บ่มด้วยอุณหภูมิ 37 องศา เซลเซียส คาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 5 จากนั้นสังเกตลักษณะไบโอฟิล์ม วัดความลึกของ รอยผุและวิเคราะห์ ปริมาณแร่ธาตุโดยการทดลองจะถูกทำซ้ำ 3 ครั้ง พบความลึกของรอยผุ 51 143 และ 186 ไมโครเมตร ในวันที่ 1 3 และ 5 ตามลำดับ เริ่มพบไบโอฟิล์มได้ตั้งแต่วันแรกของการแช่ในสารละลายแบคทีเรีย โดยจะมีปริมาณมากขึ้น และหนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อัตราส่วนระหว่างแคลเซียมต่อฟอสฟอรัส คือ 1.69 1.30 และ 0.84 ในวันที่ 1 3 และ 5 ตามลำดับ ซึ่งทุกกลุ่มมีค่าน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้นผลการศึกษาจากแบบจำลองด้วยเชื้อก่อโรคนี้จึงสามารถ สร้างรอยผุบนชิ้นเนื้อฟันมนุษย์ได้ และนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางทันตกรรมต่อไป คำสำคัญ: รอยผุจำลอง, แบบจำลองด้วยเชื้อก่อโรค, ไบโอฟิล์ม Abstract This study aimed to develop a microbial model to create caries-like lesions to be used in dental research. Two common cariogenic bacteria (S. mutans and L. acidophilus) were cocultured and grown on four human dentin slices for 1, 3, 5 days and sound dentin slices were used for control. The bacteria were cultured in a sterile De Man Rogosa and Sharpe (MRS) broth with 5 % sucrose, incubated at 37˚ c in an atmosphere of 5 % CO₂. After the experimental periods, lesion depth, biofilm appearance and mineral content were determined. This experiment was repeated three times. Caries-like lesions depth were found 51, 143 and 186 µm on day 1, 3 and 5, respectively. Biofilm was found on the first day, it was increased by both number and thickness over time. Ca/P ratio was 1.69, 1.30 and 0.84 in day 1, 3 and 5, respectively. Ca/P ratio of all periods were lower when compared with the control group. This microbial model has developed caries-like lesions on dentin and can be used for future research. Keywords: caries-like lesion, microbial model, biofilm 
ผู้เขียน
605130009-7 น.ส. ศุทธินี วิริยะสืบพงศ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลระดับดีในการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย สาขา วิทยาศาสตร์สุขภาพ 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล มหาวิทยาลัยราชธานี 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 29 พฤษภาคม 2563 
แนบไฟล์
Citation 15