2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความแข็งแกร่งทางวิชาการและผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะที่มีผลต่อการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องโครงสร้างและการแบ่งเซลล์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 พฤษภาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 เรื่อง “นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชน” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 30 พฤษภาคม 2563 
     ถึง 30 พฤษภาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 529-538 
     Editors/edition/publisher มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     บทคัดย่อ ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์เรื่องโครงสร้างและการแบ่งเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความแข็งแกร่งทางวิชาการ โดยศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 33 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความแข็งแกร่งทางวิชาการซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบด้านการควบคุมความพยายาม (control-effort) การควบคุมผลที่เกิดขึ้น (control-affect) ความมุ่งมั่นในการเรียน (commitment) และความรู้สึกท้าทายในการเรียน (challenge) และแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ซึ่งทำการวิเคราะห์จากการพิจารณาจากค่าเฉลี่ยระดับความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน และใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (partial least squares structural equation modeling [PLS-SEM]) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งทางวิชาการและความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น มีความพัฒนาอย่างเป็นลำดับ โดยจากการวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ครั้งที่สามนักเรียนส่วนใหญ่สามารถให้เหตุผลที่มีการลงข้อสรุปที่ถูกต้อง มีหลักฐานประกอบการลงข้อสรุป แต่ไม่เพียงพอต่อการชี้แจงความสัมพันธ์ระหว่างข้อสรุปและหลักฐาน และนักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อสรุปและหลักฐานในการให้เหตุผลที่เกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ นอกจากนี้ผลจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งทางวิชาการและความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ โดยความสามารถในความการควบคุมความพยายาม และความสามารถในการควบคุมผลที่เกิดขึ้นจากการเรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ขณะที่ความมุ่งมั่นในการเรียน และความรู้สึกท้าทายในการเรียนมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางกับการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มีค่าเป็นลบ ทั้งนี้ความสามารถในการควบคุมความพยายาม ความสามารถในการควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้น รวมถึงความท้าทายในการเรียนมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อความมุ่งมั่นในการเรียนอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าความแข็งแกร่งทางวิชาการมีความสัมพันธ์ต่อการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์อาจทางตรงหรือทางอ้อม 
ผู้เขียน
615050193-4 น.ส. พิชญาภา ชมภูนุช [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0