2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าความหนาแน่นแห้งของวัสดุชนิดต่างๆ จากการอ่านค่าโดยเครื่องมือวัดนิวเคลียร์เกจในงานก่อสร้างทางหลวง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 พฤศจิกายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์ (วสท.) 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 32 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทความนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการอ่านค่าความหนาแน่นแห้งจากเครื่องนิวเคลียร์เกจในงานก่อสร้างทางหลวงบนวัสดุชั้นโครงสร้างทาง 3 ชนิด คือ ดินถมคันทาง, ลูกรังรองพื้นทางและหินคลุกพื้นทาง โดยการอ่านค่าด้วยวิธีนิวเคลียร์แบบกระเจิงกลับและแบบส่งผ่านโดยตรง มีการอ่านค่าที่ระยะเวลา 15 วินาที, 1 นาทีและ 4 นาที เพื่อศึกษาว่าเวลาอ่านค่าช้าเร็วมีผลต่อความถูกต้องหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับการหาความหนาแน่นแห้งด้วยวิธีแทนที่ด้วยทราย สำหรับวัสดุชั้นโครงสร้างทางทั้งสามชนิดจะทำการทดสอบจำนวนชั้นละ 60 จุดทดสอบ รวมทั้งสิ้น 180 จุดทดสอบ จากการทดสอบพบว่าค่าความหนาแน่นแห้งที่อ่านได้จาก เครื่องนิวเคลียร์เกจมีแนวโน้มให้ค่ามากกว่าค่าที่ได้จากวิธีแทนที่ด้วยทรายเหมือนกันในชั้นโครงสร้างทางทั้ง 3 ชนิด ส่วนระยะเวลาในการอ่านช้าเร็วไม่มีผลต่อค่าที่อ่านได้จากเครื่อง ส่วนขนาดคละของมวลรวมหรือขนาดของวัสดุมีผลต่อการอ่านค่าจากเครื่องนิวเคลียร์เกจ จากการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านค่าจากเครื่องมือนิวเคลียร์เกจและวิธีแทนที่ด้วยทรายมีความสัมพันธ์เชิงเส้น และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) ที่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี จึงมีความมั่นใจในความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ หากจะนำเครื่องมือนิวเคลียร์เกจมาใช้งานจำเป็นต้องมีการสอบเทียบกับวิธีแทนที่ด้วยทรายก่อน พบข้อได้เปรียบของเครื่องมือนี้ที่เหนือกว่าการทดสอบด้วยวิธีแทนที่ด้วยทรายคือเรื่องระยะเวลาการทดสอบที่รวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับการก่อสร้างในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วที่ต้องมาพร้อมกับคุณภาพ  
     คำสำคัญ ดินถมคันทาง, ลูกรังรองพื้นทาง, หินคลุกพื้นทาง, ความแน่นในสนาม, เครื่องนิวเคลียร์เกจ, วิธีแทนที่ด้วยทราย 
ผู้เขียน
615040061-7 นาย สราวุธ หมอดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0