2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การประยุกต์ใช้วิธีการคัดเลือกพันธุ์พืชแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพันธุ์อ้อย 
Date of Acceptance 12 October 2020 
Journal
     Title of Journal แก่นเกษตร 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 49 
     Issue
     Month มี.ค.-เม.ย
     Year of Publication 2021 
     Page
     Abstract การคัดเลือกพันธุ์โดยนักปรับปรุงพันธุ์พืชแต่เพียงฝ่ายเดียวและเผยแพร่พันธุ์ใหม่สู่เกษตรกร อาจจะไม่เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรทำให้สูญเสียทรัพยากรทั้งเวลาและงบประมาณในการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งการคัดเลือกพันธุ์แบบเกษตรกรมีส่วนร่วม (Participatory Variety Selection ; PVS) น่าจะเป็นแนวทางที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลผลิตของอ้อยพันธุ์ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆ และคัดเลือกพันธุ์โดยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็ก และรายใหญ่เข้ามามีส่วนร่วม และหาความสัมพันธ์ระหว่างความชอบของเกษตรกร และการประเมินผลผลิตอ้อยเพื่อระบุลักษณะทางการเกษตรที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกพันธุ์อ้อยของชาวไร่แต่ละกลุ่มในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ 12 พันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จำนวน 14 สถานที่ ในปีเพาะปลูก 2558/59 (อ้อยปลูก) และ 2559/60 (อ้อยตอ1) วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ปลูกอ้อย 4 แถวต่อแปลงย่อย ความยาวแถว 6 เมตร ระยะระหว่างร่อง 1.5 เมตร ระยะระหว่างต้น 0.50 เมตร ปลูกแบบวางท่อนคู่ ผลการเปรียบเทียบพันธุ์ที่สรุปจากทั้ง 14 แปลง พบว่าพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยสูงทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ1 คือ พันธุ์ CSB08-111 (20.65 ตัน/ไร่), CSB08-108 (20.44 ตัน/ไร่) และพันธุ์ CSB08-99 (19.33 ตัน/ไร่) โดยอ้อยพันธุ์ CSB08-111 และ CSB08-108 ให้ผลผลิตเฉลี่ยน้ำตาลสูงที่สุด 2.76 และ 2.73 ตันซีซีเอส/ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่การคัดเลือกพันธุ์ด้วยสายตาของชาวไร่อ้อยในทั้ง 14 แปลง ในอ้อยปลูกพบว่าพันธุ์อ้อยที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กและรายใหญ่พึงพอใจเลือก ได้แก่ CSB08-108 คะแนนโหวตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กและรายใหญ่ เท่ากับ 14.79 และ 15.61 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ CSB08-99 (13.95 และ 15.45 เปอร์เซ็นต์) และ CSB08-111 (13.55 และ 21.13 เปอร์เซ็นต์) ในรุ่นอ้อยตอ พบว่าพันธุ์อ้อยที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กและรายใหญ่เลือกได้แก่ CSB08-99 คิดเป็นคะแนนโหวตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กและรายใหญ่เท่ากับ 21.69 และ 21.41 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ CSB08-108 (20.81 และ 19.05 เปอร์เซ็นต์) และ CSB08-111 (16.68 และ 16.11 เปอร์เซ็นต์) สรุปได้ว่าการคัดเลือกพันธุ์อ้อยด้วยสายตาของชาวไร่อ้อยทั้งสองกลุ่มสามารถคัดเลือกได้สอดคล้องกับผลการทดสอบผลผลิต โดยลักษณะที่ชาวไร่อ้อยรายเล็กและรายใหญ่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกได้แก่ การแตกกอ (51.77 และ 37.86 เปอร์เซ็นต์) ขนาดลำ (30.69 และ 42.90 เปอร์เซ็นต์) การเจริญเติบโต (5.60 และ 11.12 เปอร์เซ็นต์) และการหลุดร่วงของกาบใบ (2.28 และ 3.38 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับซึ่งลักษณะที่ชาวไร่อ้อยทั้งสองกลุ่มใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยจะเป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยโดยตรงกล่าวคือ จำนวนลำ/ไร่ และน้ำหนักลำ ดังนั้น นักปรับปรุงพันธุ์จึงต้องให้ความสำคัญกับลักษณะทางการเกษตรดังกล่าวในการคัดเลือกพันธุ์อ้อย เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ยอมรับของชาวไร่อ้อยซึ่งจะทำให้การคัดเลือกพันธุ์เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและอ้อยพันธุ์ใหม่ได้รับการยอมรับจากชาวไร่อ้อยในการนำไปใช้เพื่อยกระดับผลผลิตอ้อยของประเทศได้ 
     Keyword พันธุ์อ้อยดีเด่น, การทดสอบผลผลิต, เกณฑ์ในการคัดเลือก 
Author
605030024-8 Miss MANEERUT MAKA [Main Author]
Agriculture Master's Degree
607030015-3 Miss JUTHAMAS KHRUENGPATEE
Agriculture Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis false 
Attach file
Citation 0