2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของระดับความเค็มต่อการงอกของเมล็ดพืชและการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินร่วมกับ วัสดุอินทรีย์เพื่อส่งเสริมการงอกของเมล็ดโสนแอฟริกาในสภาพเรือนทดลอง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มกราคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 22 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มกราคม 2564 
     ถึง 26 มกราคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 49 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 894-900 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ปัญหาดินเค็มเป็นปัญหาทรัพยากรดินที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลกระทบต่อ การเจริญเติบโต ของพืช และผลผลิตทางการเกษตร โดยในพื้นที่ดินเค็มจัด ไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้ ทำให้เกษตรกรขาดรายได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเค็มต่อการงอกของเมล็ดพืชชนิดต่างๆ ที่มีศักยภาพในการปลูกในพื้น ที่ดินเค็มและผลของการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุอินทรีย์ต่อการงอกของโสนแอฟริกา โดยประกอบด้วย 3 การ ทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 การศึกษาผลของความเค็มที่มีต่ออัตราการงอกของเมล็ดพืช โสนแอฟริกา (Sesbania rostrata) ผักเบี้ยใหญ่ (Portulaca oleracea L.) ไอช์ แพลนท์ (Mesembryanthemum crystallinum) และควินัว (Chenopodium quinoa) (โดยการเพาะเมล็ด) พบว่า โสนแอฟริกา (Sesbania rostrata) สามารถงอกได้จนถึงความเค็ม ปานกลาง (0-4 mS/cm) มีอัตราการงอก 36.67% ผักเบี้ยใหญ่ (Portulaca oleracea L.) สามารถงอกได้จนถึงความเค็ม มาก (0-8 mS/cm) มีอัตราการงอก 31.7% ส่วนไอซ์ แพลนท์ (Mesembryanthemum crystallinum) สามารถงอกได้ จนถึงความเค็มน้อย (0-2 mS/cm) มีอัตราการงอก 40 % และ ควินัว (Chenopodium quinoa) ไม่สามารถงอกได้ใน ทุกตำรับการทดลอง การทดลองที่ 2 การศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ และอัตราส่วน ที่ต่างกัน ต่อ อัตราการงอกของ โสนแอฟริกา (Sesbania rostrata) ในดินเค็มจัด พบว่า เมล็ดโสนแอฟริกามีอัตราการงอก สูงที่สุด 96.7 % ในดินเค็มจัด+ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 25:75, รองลงมาที่ดินเค็มจัด+ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน งอกได้ 90%, ดินเค็มจัด+แกลบ เท่ากับ 70%, ดินเค็มจัด+ดินพีทมอส งอกได้ 70% ดินเค็มจัด+ปุ๋ยคอก, ดินเค็มจัด+ถ่านชีวภาพ, ดิน เค็มจัด+แกลบดิบ งอกได้ 33.3% และ ที่อัตราส่วน 50:50 พบว่า เมล็ดโสนแอฟริกามีอัตราการงอกสูงที่สุด ที่ตำรับทดลอง ดินเค็มจัด+ขุยมะพร้าว งอกได้ 86.7% และส่วนที่อัตราส่วน 75:25 ไม่พบการงอกของเมล็ด การทดลองที่ 3 การศึกษาผล ของการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ และอัตราส่วนที่ต่างกันต่อ อัตราการงอกของ โสนแอฟริกา (Sesbania rostrata) โดยใช้ดินเค็มจัด:สารอินทรีย์ปรับปรุงในอัตราส่วน 25:75 พบว่า ในตำรับทดลองที่มีการใช้ดินเค็ม จัด+ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน+แกลบเผา+ขุยมะพร้าว สัดส่วน 1:1:1 พบว่ามีอัตราการงอกของโสนแอฟริกาสูงที่สุดคือ 86.7 % จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุอินทรีย์สามารถส่งเสริมการงอกของเมล็ดพืชที่มี ศักยภาพในการปลูกในพื้นที่ดินเค็มได้เพื่อช่วยเกษตรกรในพื้นที่ดินเค็มจัดสามารถปลูกพืชและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได 
ผู้เขียน
617030018-8 นาย ณัฐกิตติ์ เพชรหมื่นไว [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลระดับชมเชย ในการนำเสนอโปสเตอร์ 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 25 มกราคม 2564 
แนบไฟล์
Citation 0