2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะผ่านบอร์ดเกมดิจิทัล เรื่อง เคมีไฟฟ้า ที่มีต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 บนพื้นฐานคุณสมบัติจำเพาะของสื่อการเรียนรู้  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 9 มิถุนายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติศึกษำศำสตร์วิจัย ครั้งที่ 8 และนานาชาติ ครั้งที่ 4 National and International Conference on Education 2021 (NICE) นวศึกษาที่ยั่งยืนในช่วงเวลาแห่งความท้าทาย Innovative and Sustainable Education in Times of Challenges 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
     สถานที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
     จังหวัด/รัฐ ปัตตานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 มิถุนายน 2564 
     ถึง 2 มิถุนายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 109 
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะโดยใช้บอร์ดเกมดิจิทัลเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้หนึ่งที่เอื้ออำนวยให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการเล่นบอร์ดเกมร่วมกับอุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพา เพื่อส่งเสริมการสร้างแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีความเป็นนามธรรมสูงได้ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการยอมรับเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบบอร์ดเกมดิจิทัล เรื่อง เคมีไฟฟ้า บนพื้นฐานคุณสมบัติจำเพาะของสื่อการเรียนรู้ โดยทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ดังกล่าวกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 68 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อ ผลการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Mann–Whitney U Test พบว่าทั้งสองปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความซับซ้อนของบอร์ดเกม และปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่อการใช้บอร์ดเกม ส่งผลต่อทั้งสี่ปัจจัยของการยอมรับเทคโนโลยี ได้แก่ การรับรู้ว่ามีประโยชน์ (U) การรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้ (E) เจตคติต่อการใช้ (A) ความตั้งใจในการใช้ (BI) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยคะแนนเฉลี่ยของการยอมรับเทคโนโลยีการเรียนรู้บอร์ดเกมดิจิทัลของนักเรียนกลุ่มสูงทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยในระดับที่สูงกว่านักเรียนกลุ่มต่ำ แสดงให้เห็นว่านักเรียนกลุ่มที่มีประสบการณ์เดิมกับบอร์ดเกมสูงก็จะส่งผลให้นักเรียนมีการยอมรับเทคโนโลยีที่ดีมากกว่าด้วยเช่นกัน ดังนั้นคุณสมบัติจำเพาะของสื่อการเรียนรู้แบบบอร์ดเกมดิจิทัลนี้ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบบอร์ดเกมดิจิทัลภายใต้ประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะด้วย 
ผู้เขียน
625050122-8 นาย ถนอมศักดิ์ บุญพินิจ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum